สาธารณรัฐจีน-01

กำเนิดสาธารณรัฐจีน (4)

สาธารณรัฐจีน-01
สาธารณรัฐจีน-01

กำเนิดสาธารณรัฐจีน (4) สาธารณรัฐจีนซึ่งได้รับมอบอำนาจการปกครองราชวงศ์เช็งในปี พ.ศ.๒๔๕๕ นั้น กระทำโดยยวนซีไขในตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน รับจากยวนซีไขในตำแหน่งอัครเสนาบดีราชวงศ์เช็ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ยวนซีไขเป็นตำแหน่งจากอัครเสนาบดีราชวงศ์เช็งมาเป็นตำแหน่งประธานาธิบดี สาธารณรัฐจีนเท่านั้นเอง ส่วนบรรดานายพลต่างๆ ซึ่งได้ร่วมเรียกร้องให้กษัตริย์ราชวงศ์เช็งสละราชวงศ์เช็งสละราชสมบัตินั้น แม้จะได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งใหม่จากรัฐบาลใหม่ก็ตาม แต่ก็ยังคุมอำนาจที่มีอยู่เช่นเดิม

หยวนซื่อข่าย
หยวนซื่อข่าย

ครั้น พ.ศ.๒๔๕๘ ยวนซีไขเกิดตั้งตนเป็นกษัตริย์ขึ้นตามแบบฉบับโบราณจีน และใน พ.ศ.๒๔๖๐ นายพลเตียวฮึงทูลเชิญกษัตริย์ปูยีขึ้นครองราชย์อีก ซึ่งทั้งสองราชบัลลังก์นี้แม้จะอยู่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็ตาม แต่ก็ได้เกิดความอลเวงปั่นป่วนแก่การเมืองจีนเป็นอย่างมาก โดยต่อแต่นั้นมา บรรดานายพลต่างยึดมั่นในอำนาจเขตการปกครองของตนเยี่ยงสมบัติส่วนตัว ต่างออกธนบัตรเงินตรา เก็บภาษี ตั้งกองทหาร วางระเบียบบริหาร และแต่งตั้งข้าราชการเอง ไม่ยอมฟังคำสั่งของรัฐบาลกลาง จีนต้องเข้าสู้การปกครองแบบเจ้าครองนครสมัยดึกดำบรรพ์อีกครั้งหนึ่ง ที่ร้ายกว่านี้ ก็คือบรรดาปะเทศมหาอำนาจตะวันตกต่างก็พลอยยึดมั่นในสิทธิพิเศษของตนตามสัญญา สัมพันธ์ไมตรี ซึ่งราชวงศ์เช็งได้ทำไว้แต่การก่อน มีสิทธิพิเศษในพิกัดอัตราภาษีศุลกากร อำนาจทางศาล เขตที่เข่าและการมีกองทหารในจีน เป็นต้น สิทธิเหล่านี้ ได้สร้างความล่มจมให้แก่จีนทุกวันเวลา จีนต้องเก็บภาษีขาเข้าในอัตราต่ำที่สุดและเงินที่เก็บได้รวมทั้งรายได้จาก การไปรษณีย์ ต้องกันไว้ชดใช้หนี้สงครามแก่ฝรั่ง กฎหมายใช้ไม่ได้เพราะชาวต่างประเทศไม่อยู่ในอำนาจศาลจีน เขตที่เช่ามีทั้งคุณและโทษอย่างมากหลาย โรงงานอุตสาหกรรมและโรงเรียนรวมทั้งคนมั่งมี ต้องไปอาศัยอยู่ในเขตที่เช่าและรวมทั้งพรรคการเมืองกับพวกอาชญากรทุกประเภท การสื่อสารตกอยู่ในมือต่างประเทศเกือบหมด ต่างประเทศมีสิทธิ์นำธนบัตรมาใช้ในจีน จีนเสมือนเป็นเมืองขึ้นของหลายประเทศที่มีความสัมพันธ์ “ไมตรี” ต่อจีน

เจียงไคเช็คเหมาเจ๋อตง
เจียงไคเช็คเหมาเจ๋อตง

นับตั้งแต่จีนได้สร้างประเทศจีนขึ้น ๔,๐๐๐ กว่าปีก่อน ไม่มียุคใดที่ประชาชนชาวจีนต้องทนทุกข์ทรมานต่อการปกครองและยากจนเท่ายุคนี้ จิตใจประชาชนอยู่ในสภาพหมดหวังไม่มีที่พึ่ง ทำมื้อกินมื้อ พวกอดอยากกินกระรากรากไม้ต้นหญ้า และทำทุกๆ สิ่งที่เราท่านไม่เชื่อว่าจะมีคนทำได้ นับว่าเป็นยุคเข็ญที่ไม่เคยปรากฏแก่ประเทศใดสมัยใด

ดร.ซุน ได้วิ่งเต้นเรียกร้องขอให้การประชุมพวกนายพล เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียว ด้วยวิธีการต่างๆ ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ที่สุดจึงตกลงใจมายังกวางตุ้ง มอบให้จอมพลเจียงไคเช็คตั้งโรงเรียนทหารนายร้อยทหารวังปูเตรียมให้กำลังทหาร เข้ายึดมณฑลต่างๆ เพื่อความเป็นปึกแผ่นของสาธารณรัฐจีน โดยมีโซเวียตช่วยเหลือในการจัดตั้งพรรคก๊กมีนตั๋ง (พรรคพลเมือง) แต่ยังไม่ทันเริ่มศึก ดร.ซุนก็ถึงแก่กรรมไปในปี พ.ศ.๒๔๖๘ จอมพลเจียงจึงรับหน้าที่ต่อ โดยเริ่มยาตราทัพเข้าตีมณฑลต่างๆ ภาคเหนือกวางตุ้งใน พ.ศ. ๒๔๖๙ ตามต้องการที่จะได้เห็นจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแรงกล้าและความพร้อม เพรียงของชาวจีน ได้บันดาลใจให้การปราบพวกนายพลสมัยหินเป็นไปอย่างง่ายดายและรวดเร็ว

เจียงไคเช็คเข้านานกิง
เจียงไคเช็คเข้านานกิง

พ.ศ.๒๔๗๐ จอมพลเจียงได้เข้ายึดนานกิงและเข้ายึดปักกิ่งใน พ.ศ.๒๔๗๑ นายพลจางโซเหลียงแม่ทัพครองแมนจูเรีย ก็ยอมขึ้นกับรัฐบาลจอมพลเจียงโดยไม่มีเงื่อนไข แล้วจีนก็อยู่ในแบบเป็นปึกแผ่นพร้อมที่จะสร้างชาติตามแผน ดร.ซุน แต่ในพ.ศ.๒๔๗๔ ก็เกิดกรณีพิพาทแมนจูเรียขึ้นโดยกองทหารญี่ปุ่นประจำแมนจูเรีย มีส่วนช่วยเหลือให้ตั้งประเทศแมนจูกัวและยกกษัตริย์ปูยีขึ้นครองราชย์ทรงพระ นามกษัตริย์คังเต้ ต่อจากนั้นกรณีพิพาทต่างๆ ระหว่างจีน-ญี่ปุ่นก็เกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน เริ่มแต่เทียนสิน สะพานลูเกาเจียว (ชานเมืองปักกิ่ง) ลามมาถึงเซี่ยงไฮ้ ที่สุดก็เกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นแบบไม่ประกาศสงคราม ยืดเยื้อผ่านสงครามโลกครั้งที่ ๒ และสงครามมหาเอเชีย สิ้นสุดด้วยญี่ปุ่นยอมแพ้แก่ทัพสัมพันธมิตร จีนในฐานะเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร จึงเป็นฝ่ายที่รบชนะด้วยในปี พ.ศ.๒๔๘๘

จอมพลเจียงได้รับคืนดินแดนจากทัพญี่ปุ่นซึ่งเป็นไปด้วยสิ่งปรักหักพัง พร้อมด้วยพลเมืองอันิ้นเนื้อประดาตัว ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จะจัดการได้ง่ายและก็ไม่สามารถจะจัดการให้เห็นผลทันที และก็ยังไม่ทันได้ลง มือทำ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งก่อตัวมาแต่สมัยจอมพลเจียงทำศึกอยู่ และค่อยๆ เติบโตมีกำลังมากขึ้นในระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นนั้น ก็เริ่มมีบทบาททันทีคือได้เริ่มรุกจากแมนจูเรีย ซึ่งเป็นเขตยึดครองของโซเวียตเข้าปักกิ่ง ซันตุง เซี่ยงไฮ้ และกวางตุ้งที่สุดก็ครองดินแดนจีนได้หมด สาธารณรัฐจีนคณะชาติได้ย้ายไปตั้งที่เกาะไต้หวันในปี พ.ศ.๒๔๙๒

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *