สงครามบ็อกเซอร์

กำเนิดสาธารณรัฐจีน (3)

ซูสีไทเฮา
ซูสีไทเฮา

กำเนิดสาธารณรัฐจีน (3) กษัตริย์มกจงซึ่งสวรรคตเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๘ และกษัตริย์เตกจงพระราชนัดดาทรงใช้นามราชการว่ากวงซู้สืบราชบัลลังค์ต่อนั้น มีพระชนมายุเพียง ๕ พรรษา พระมเหสีกษัตริย์มกจงคือชือฮีดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการซึ่งก็คือซูสีไทเฮา ที่เรารู้จักกัน ซูสีไทเฮา นอกจากโปรดการกระทำตามอารมณ์แล้ว ยังไม่ทรงปรีชาในการบริหารราชการเป็นอย่างยิ่งประกอบด้วยภายหลังการสงคราม จีน-ญี่ปุ่น ความอ่อนแอของราชวงศ์เช็งเป็นที่ประจักษ์แก่โลกอย่างชัดแจ้ง และความไม่เป็นระเบียบในการปกครองของซูสีไทเฮา มหาอำนาจประเทศต่างๆ จึงถือโอกาส “ขอ” ทำสัญญากับจีน โดยรัสเซียขอยึดปอร์ตอาเทอร์และอ่าวไดเลนกับสิทธิการสร้างทางรถไฟในแมนจู เยอรมันขอเช่าแหลมซันตุง อังกฤษขอสิทธิเหนือดินแดนสองฝั่งน้ำแยงซี ฝรั่งเศสขอขยายทางรถไฟฮานอยเข้าไปในมณฑลกวางตุ้ง กวางสีและยูนานตลอดจนสิทธิในเหมืองแร่ของสามมณฑล และขอเช่าอ่าวกวางเจา กับทั้งไม่ยอมให้ราชวงศ์เช็งยกสิทธิใดๆ ของสามมณฑลและเกาะใหหลำให้แก่ประเทศใด ญี่ปุ่นขอสิทธิพิเศษในมณฑลฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นเรื่องระหว่าง พ.ศ.๒๔๓๘ – ๒๔๔๑

สงครามบ๊อกเซอร์ พ.ศ. ๒๔๔๑ กษัตริย์กวงซู้มีพระชนมายุครีบ ๒๘ พรรษา ทรงวิตกที่ต่างประเทศเข้ารุกรานอยู่รอบด้าน อีกทั้งมีพวกความคิดจะปฏิวัติเป็นระบบประชาธิปไตย ซึ่งมี ดร.ซุนยัดเซนเป็นหัวหน้า และมีพวกคิดจะปฏิรูปเป็นระบบกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีคังเยาไวเป็นหัวหน้า กษัตริย์กวงซู้ทรงเห็นชอบแบบคังเยาไว จึงรับสั่งให้คังเยาไวไปติดต่อกับยวนซีไขซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารนครหลวง ให้ใช้กำลังทหารเข้ายึดการปกครอง แต่ยวนซีไขกลับนำความไปทูลซูสีไทเฮา พวกที่คิดจะขอพระราชทานพระราชรัฐธรรมนูญจึงถูกจับประหารชีวิต กษัตริย์กวงซู้ถูกกักบริเวณ ซูสีไทเฮาเข้ากุมอำนาจทั้งหมด และเพิ่มความเคียดแค้นพวกฝรั่งรุนแรงขึ้น ประจวบกับ พ.ศ.๒๒๔๒ เกิดมีคณะนักมวยชื่องี่ฮั่วท้องขึ้นในซันตุงประกาศจะ “กู้เช็งกำจัดฝรั่ง” โดยอ้างว่ามียันต์และเวทมนต์สามารถต่อต้านปืนใหญ่ได้ แล้วก็เข้าทำร้ายพวกชาวคริสต์ รุกเข้าปักกิ่ง ทำลายรางรถไฟเสาโทรเลขแล้วล้มสถานทูตตางประเทศ ซูสีไทเฮาพอพระทัยในการระทำนี้มาก รับสั่งให้ทหารร่วมมือในงานก็ราชวงศ์เช็งโดยการกำจัดฝรั่งให้หมดไป กองทหารอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ออสเตรีย อิตาลีและเยอรมันซึ่งประจำอยู่กรุงปักกิ่ง จึงออกป้องกันสถานทูต และก็เกิดสงครามระหว่างจีน-แปดชาติขึ้น ที่สุดจึงต้องทำสัญญาสงบศึกโดยยอมชดใช้ค่าสงคราม ๙๐๐ ล้านเหรียญ และยอมให้ทหารต่างประเทศประจำอยู่ในกรุงปักกิ่ง

สงครามบ็อกเซอร์
สงครามบ็อกเซอร์

การปฏิวัติซินไฮ่ และ การสิ้นสุดของราชวงศ์เช็ง พ.ศ.๒๔๕๑ ราชวงศ์เช็งได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นปีที่กษัตริย์กวงซู้และซูสีไทเฮา สวรรคตในเวลาติดกัน กษัตริย์ปูยี (ซึ่งต่อมาได้ครองราชย์แมนจูกัวเป็นปฐมกษัตริย์คังเตแห่งแมนจูกัวใน พ.ศ. ๒๔๗๕) ซึ่งมีพระชนมายุ ๓ ชันษาสืบราชบัลลังก์แทน แต่การปฏิวัติได้เกิดขึ้นทั่วไป ราชวงศ์เช็งจึงแต่งตั้งให้ยวนซีไขเสนาบดีกลาโหมเป็นอัครเสนาบดี เจรจากับคณะปฏิวัติซึ่งได้รัฐบาลแบบสาธารณรัฐแล้วที่นครนานกิง โดยมี ดร.ซุน เป็นประธานาธิบดี ผลการเจรจาระหว่างหยวนซีไขกับคณะปฏิวัติ ก็คือยุบคณะรัฐบาลสาธารณรัฐของคณะปฏิวัติโดย ดร.ซุนลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีและกษัตริย์ปูยียกราชสมบัติให้แก่ สาธารณรัฐจีนใหม่ ซึ่งเมื่อยวนซีไขเป็นประธานาธิบดี กษัตริย์ปูยีได้รับการรับรองจากสาธารณรัฐในฐานะกษัตริย์นอกราชบัลลังก์ ราชวงศ์เช็งได้สิ้นสุดลงในปีพ.ศ.๒๔๕๔ โดยได้สืบมา ๑๒ รัชกาลเป็นเวลา ๒๙๗ ปี

ซุนยัดเซน
ซุนยัดเซน

สาธารณรัฐตงฮั้ว หรือที่เราเรียกว่าสาธารณรัฐจีนได้ตั้งขึ้น ในปี พ.ศ.๒๔๕๕ และได้รับการรับรองจากประเทศต่างๆ ในปีเดียวกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *