โจโฉถูกจับ

กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ

โจโฉถูกจับ
โจโฉถูกจับ

กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ กลยุทธ์นี้หมายความว่า ถ้าบีบคั้นจนเกินไปนัก สุนัขก็จักสู้อย่างจนตรอก ปล่ายข้าศึกหนี ก็จักทำลายความเหิมเกริมของข้าศึกได้ ทว่าต้องไล่ตามอย่าละ เพื่อบั่นทอนกำลังของข้าศึกให้กระปลกกะเปลี้ย ครั้นเมื่อสิ้นเรี่ยวแรงใจก็มิคิดต่อสู้ด้วยแล้ว จึงจับ อันเป็นการรบที่ไม่เสียเลือดเนื้อ อีกทั้งทำให้ข้าศึกแตกสลายไปเอง “รอ ฟังตัว สว่าง” มีอยู่ใน “คัมภีร์อี้จิง รอ” “รอ” หมายถึงการรอคอยอย่างอดทน “ฟังตัว” ก็คือไก่ฟักไข่จนเป็นลูกไก่ หมายถึง “ได้” ส่วน “สว่าง” ก็คือแสดงสว่าง หมายถึง “ชัยชนะ” ความหมายของกลยุทธ์นี้ทั้งคำก็คือ เมื่อสองทัพประจันหน้ากัน จักต้องใช้ความอดทนรอคอย ให้ใช้วิธีการอันแยบยล ให้ข้าศึกมาสวามิภักดิ์ด้วยใจ นี้ก็คือกลอุบายปล่อยป่านยาวตกปลาตัวโตอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีอยู่ใน “คัมภีร์เหลาจื่อ บทต้น” บรรยายไว้ว่า “เมื่อจักเอา จะต้องให้” ในบันทึก “ไท่ผิงเทียนว๋อ อักษรศาสตร์” ก็มีอธิบายไว้ว่า “เมื่อจักจับให้ปล่อย เมื่อจักเร็วให้ช้า รอเมื่อหย่อนยานจึงตี มิมีที่ไม่ชนะ”

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “แสร้งปล่อยเพื่อจับ จุดประสงค์อยู่ที่ “จับ” “ปล่อย” เป็นวิธีการ “จับ” คือจับทาง “ใจ” ให้ยินยอมอ่อนน้อมทั้งกายและใจ ผู้ถูกจับ “ใจ” จักกลายเป็นข้าทาสบริวารของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างไม่ลืมหูลืมตา จนกว่าจะเกิดความสำนึกใน “ศักดิ์ศรี” ของตนเอง กลยุทธ์นี้ จึงเป็นกลยุทธ์อันชาญฉลาด ในการบั่นทอนจิตใจสู้รบและขวัญของข้าศึก ด้วยวิธีการทั้งแจ้งและลับอย่างหนึ่ง อันได้ผลเกิดความคาดหมาย นั้นแล”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *