สุมาอี้เห็นโคยนต์

กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก

สุมาอี้เห็นโคยนต์
สุมาอี้เห็นโคยนต์

กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้สิ่งที่คล้ายคลึงกันไปล่อข้าศึก ให้ข้าศึกต้องอุบายพ่ายแพ้ไป การใช้กลยุทธ์นี้ กำหนดขึ้นตามสภาพรูปธรรมของข้าศึก ในตำราพิชัยสงครามชื่อ “ร้อยยุทธการพิสดาร การรบที่ได้ประโยชน์” กล่าวไว้ว่า “เมื่อประมือกับข้าศึก ขุนพลฝ่ายตราข้ามโง่เง่ามิรู้พลิกแพลง จักล่อด้วยประโยชน์ เขาละโมบในประโยชน์ มิรู้ผลร้าย ก็ซุ่มทหารลอบตีได้ ข้าศึกจักพ่ายนี้คือ “ล่อด้วยประโยชน์” “โยนกระเบื้องล่อหยก” คำนี้ เดิมมาจากเรื่องราวของกวีสมัยราชวงศ์ถัง 2 คน ชื่อ ฉางเจี้ยน และ จ้าวกู่ กล่าวคือ ฉางเจี้ยนนิยชมชอบและยกย่องบทกวีของจ้างกู่มาช้านาน ครั้นเมื่อทราบว่าจ้าวกู่เดินทางมาเมืองซูโจว ก็คาดคะเนว่าคงจะไปเที่ยว ณ วัดหลิงเอี๋ยนสื้อ ฉางเจี๋ยนจึงเขียนบทกวีไว้ 2 คำบนผนังวัด เมื่อจ้าวกู่มาเห็นเข้า ก็ต่อบทกวีนี้อีก 2 คำ จึงกลายเป็นกวีที่ครบถ้วนสมบูรณ์และสวยงาม ไพเราะจับใจยิ่งนัก แต่เนื่องจากบทกวีของฉางเจี้ยนด้อยกว่าของจ้าวกู่ คนทั้งหลายจึงเรียกบกวีของฉางเจี้ยนเป็นเสมือนหนึ่ง “กระเบื้อง” แต่หากแม้นมิมี “กระเบื้อง” ที่ฉางเจี้ยนเอาไปล่อไว้ ไฉนเลยจะมาซึ่ง “หยก” ของจ้าวกู่ ที่ต่อ “กระเบื้อง” ชของฉางเจี้ ยนจนกลายเป็นบทกวี่มีค่าล้ำที่ทุกคนยกให้”

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “วิธีหลอกลวงข้าศึกมีมากมาย ที่แยบค่ายที่สุดมิมีใดเกิน ความละม้ายแม้น” หรือ “ความเหมือน” ที่เรียกว่า “กระเบื้อง” หมายถึงสิ่งที่ไม่มีค่างวด ส่วน “หยก” นั้นเป็นจิดาสูงค่าอันพึงปรารถนาของผู้คนทั้งหลาย ที่ว่า “โยนกระเบื้องล่อหยก” ก็คือใช้สิ่งของที่มีค่าน้อยไปล่อสิ่งของที่มีค่าสูง กระเบื้องกับหยกนั้น มองผ่านๆก็มีส่วนที่คล้ายคลึงกันอยู่ นักการทหารผู้มีความชำนาญในกลศึก ก็สามารถจะใช้ความ “ละม้ายแม้น” ความ “เหมือน” ความ “คล้ายคลึง” ของทั้งสองสิ่งสร้างความสับสนฉงนใจให้แก่ข้าศึก ฉวยโอกาสที่ข้าศึกกำลังวุ่นวายหรือหลงกลจู่โจมเอาชัยโดยพลัน”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *