พิธีชงชา

พิธีชงชาจีน

พิธีชงชา
พิธีชงชา

พิธีชงชาจีน ศิลปะในการชงและวิถีในการดื่มชา ถือเป็นศาสตร์สำคัญของประเทศจีน สำหรับชาวจีนแล้ว ห่วงแห่งการดื่มชาถือเป็นช่วงเวลาการผ่อนคลาย เพื่ออิ่มเอมกับรสชาติและกลิ่นหอมของชา หัวใจสำคัญที่สุดในพิธีชงชาของจีนก้อคือ…การดมกลิ่นและการชิมน้ำชา

ศิลปะการชงชาตามแบบฉบับของชาวจีนเรียกกันว่า “ชา เดา” ( Cha Dao) ลักษณะเด่นคือ การจัดเสิร์ฟน้ำชาเป็นชุด กาน้ำชาดินเผาใบเล็ก ถ้วยชาดินเผาแบบบางใบเล็ก 3-5 ใบ ถาดวางถ้วยชา ซึ่งมีฐานด้านล่างเพื่อรองน้ำล้น ไม่ตะเกียบคีบใบชา ในบ้านชาวจีนส่วนใหญ่จะมีชุดน้ำชาแบบนี้ทุกครัวเรือน

พิธีชงชาเริ่มต้นจากการลวกกาดินเผาด้วยน้ำร้อนจัด จากนั้นคีบใบชาด้วยตะเกียบไม้ใส่ลงไปในกา ลวกน้ำชาด้วยน้ำร้อนแล้วเททิ้งก่อนหนึ่งครั้ง เติมน้ำเพื่อชงชาอีกครั้ง น้ำที่ใช้ชงก้อต้องมีอุณหภูมิพอเหมาะ ถ้าร้อนเกินไปจำทำให้ใบชาเสียรสชาติ ประการสำคัญคือ ไม่ควรแช่ชาไว้เกิน 1 นาที ทั้งนี้ก้อเพื่อความกลมกล่อมของรสชาติ

เมื่อน้ำชาได้ที่ก้อรินลงในถ้วยใบเล็กๆ ปากแคบ ที่วางเรียงไว้เป็นรูปวงกลมบนถาด รินชาให้ทุกๆถ้วยมีน้ำชาเท่ากัน การรินน้ำชามีกฎสำคัญคือ “การรินชาต้องรินเพียงครึ่งถ้วยเท่านั้น” เพราะเชื่อกันว่า อีกครึ่งที่เหลือนั้น เว้นไว้ให้กับมิตรภาพและความรักที่มีต่อกัน..

เมื่อรินเสร็จแล้ว ผู้เสิร์ฟจะส่งถ้วยชาให้กับแขกแต่ละคน เมื่อรับถ้วยชาแล้ว แขกจะทำการเคาะนิ้วที่โต๊ะ 3 ครั้งเพื่อแสดงความขอบคุณจากนั้นจึงค่อยรินน้ำชาจากถ้วยที่รับมาใส่ถ้วยชา ของตนเอง ค่อยๆบรรจงดมกลิ่นจากถ้วยชาที่ว่างเปล่า จากนั้นจึงสามารถดื่มชาจากถ้วยของตนเองได้ การดื่มชาให้หมดภายในการยกดื่ม 3 ครั้ง ถือเป็นมารยาทที่สุภาพที่สุด!!! ส่วนการดื่มชาในร้านน้ำชา หรือร้านอาหารของจีนที่เรียกว่า “ยัม ชา” ( Yum Cha) ซึ่งคำว่ายัมนั้น มาจากคับว่าดื่มนั้นเอง

ชาวจีนดื่มชามีประวัติศาสตร์มากว่า 4000 ปีแล้ว ชาเป็นเครื่องดื่มที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของชาวจีน สิ่งของ 7 อย่างในชีวิตประจำวันของคนจีนคือไม้ ข้าว น้ำมัน เกลือ

ซีอิ้วน้ำส้มและชา เห็นได้ว่าชามีความสำคัญมากสำหรับชาวจีน การเลี้ยงน้ำชาเป็นประเพณีของชาวจีน พอมีแขกมาเยี่ยมที่บ้าน เจ้าของบ้านก็จะรีบชงชาที่มีกลิ่นหอมทันที ดื่มชาไปพลางคุยกันไปพลาง ซึ่งเป็นบรรยากาศสบาย ๆ

ในจีน ชาได้กลายเป็นวัฒนธรรมพิเศษชนิดหนึ่งแล้ว ผู้คนถือการต้มน้ำชาและการชิมชาเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ท้องที่ต่าง ๆ ของจีนมีโรงน้ำชาหรือร้านน้ำชามากมาย ที่ถนนเฉียนเหมินซึ่งเป็นย่านคึกคักของกรุงปักกิ่งก็มีร้านน้ำชาโดยเฉพาะ ผู้คนสามารถดื่มชา กินอาหารพื้นเมืองและชมการแสดงต่าง ๆ เป็นวิธีพักผ่อนที่สบาย ในทางภาคใต้ของจีน นอกจากมีร้านน้ำชาและโรงน้ำชาแล้ว ยังมีเพิงน้ำชากลางแจ้ง ส่วนมากจะสร้างตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ นักท่องเที่ยวจะนั่งดื่มชาและชมวิวไปด้วย

กล่าวถึงความเคยชินของการดื่มชา ทุกที่จะไม่ค่อยเหมือนกัน ดังอย่างเช่น ชาวปักกิ่งชอบชามะลิ ชาวเซี่ยงไฮ้ชอบชาเขียว ชาวฮกเกี้ยนที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนชอบชาแดง ในท้องที่บางแห่ง ผู้คนชอบใส่เครื่องปรุงรสในน้ำชา อย่างเช่นมณฑลหูหนานทางภาคใต้ของจีนจะเลี้ยงแขกด้วยชาขิ่งเกลือ คือนอกจากมีใบชาแล้ว ยังมีเกลือ ขิ่ง ถั่วเหลือผักสุกและเมล็ดงา เทใส่ในแก้วทั้งหมดและชงน้ำแช่ไว้ ดื่มน้ำชาก่อน สุดท้ายจึงเทถั่วเหลือง เมล็ดงา ขิ่งและใบชาเข้าปาก ค่อย ๆ เคี้ยวจนได้กลิ่นหอม ดังนั้นท้องที่บางแห่งจึงเรียกว่ากินชา

วิธีชงชาของท้องที่ต่าง ๆ ก็ไม่เหมือนกัน เช่นทางภาคตะวันออกของจีนส่วนมากจะใช้กาใหญ่ พอมีแขกเข้าบ้าน ก็ใส่ใบชาในกาและเทน้ำชาร้อนใส่ลงไป แช่ไว้จนได้กลิ่นและสีชาแล้วจึงรินใส่แก้วให้แขกดื่ม

ท้องที่บางแห่งของจีนเช่นเมืองจางโจวของมณฑลฮกเกี้ยนจะมี กังฮูเต๊ มีเครื่องถ้วยชาชาเป็นชุดและมีวิธีการชงชาที่พิเศษ จึงกลายเป็นศิลปะชาที่มีเอกลักษณ์ของพื้นเมือง

ในท้องที่บางแห่งของจีน มารยาทการดื่มชาก็ไม่เหมือนกัน ที่กรุงปักกิ่ง พอเจ้าของบ้านยกถ้วยน้ำชามาให้ แขกต้องลุกขึ้นทันที เอาสองมือรับไว้และขอบคุณด้วย ในทางภาคใต้ของจีนเช่นมณฑลกวางตุง มณฑลกวางสีเป็นต้น พอเจ้าของบ้านยกชามาให้ แขกต้องใช้นิ้วกลางขวามือเคาะโต๊ะเบา ๆ สามครั้ง เพื่อแสดงความขอบคุณ ในท้องที่บางแห่ง ถ้าแขกอยากจะดื่มชาต่อ ก็ควรเหลือน้ำชาสักเล็กน้อยในแก้ว เจ้าของบ้านเห็นแล้วก็จะรินชาต่อให้ ถ้าดื่มน้ำชาในแก้วจนหมด เจ้าของบ้านก็จะคิดว่าแขกไม่อยากดื่มอีกแล้ว ก็จะไม่เติมน้ำชาให้อีกแล้ว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *