สุมาอี้

กลยุทธ์สยบมหาอำนาจ (4)

สุมาอี้
สุมาอี้

กลยุทธ์สยบมหาอำนาจ (3) : กลยุทธ์ป้องกันจนได้ชัยจากสุมาอี้สู่มอนต์โกเมอรี่ กลยุทธ์สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน ในตำราพิชัยสงคราม 36 กลยุทธ์กล่าวไว้ในบทที่ 30 ว่า เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเปิดช่องให้สอดแทรก ควรแทรก กุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่ายไว้ “ค่อยผันสู่ชัยชนะ” พบได้ใน “คัมภีร์อี้จิง รุก” ซึ่งมีความเต็มว่า “สรรพสิงในใต้หล้า เคลื่อนอย่างใจร้อนจักเสีย สงบแต่คล้อยตามจักได้ ค่อยๆผันไปช้าๆ จักเป็นคุณ เคลื่อนดังนี้จึงจะมีผล” อันหมายความว่า การตอกลิ้มเข้าไปในฝ่ายตรงข้าม เพื่อยึดอำนาจการบัญชาการนั้น จัดต้องค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้จึงจะบรรลุซึ่งชัยชนะได้

ในสมัยสามก๊กมีผู้ใช้กลยุทธ์ในเชิงป้องกันจนได้รับชัยชนะในสงครามบุกวุยก๊ก ครั้งที่ 6 ระหว่าง จูกัดเหลียง-ขงเบ้ง มหาอุปราชแห่งฉู่ฮั่น และ สุมาอี้แม่ทัพใหญ่แห่งต้าเว่ย ในสงครามครั้งนี้ขงเบ้งยกทัพมาถึงตำบลอู่จั้งแต่โดนสุมาอี้ตั้งทัพสกัดไว้ ต่างฝ่ายต่างรบกันสุมาอี้เพลี่ยงพล้ำเสียทีกองทัพขงเบ้งทำให้เกือบเสียชีวิต ในหุบเขา หลังจากนั้นสุมาอี้เริ่มรู้ตัวว่าคงจะสู้ขงเบ้งไม่ได้ จึงสั่งให้กองทัพของตัวเองห้ามออกรบจนกว่าสุมาอี้จะมีแผนการปราบขงเบ้ง ขงเบ้งเห็นสุมาอี้ตั้งทัพไม่ออกรบ เห็นว่าไม่เป็นผลดีของฝ่ายขงเบ้ง จึงวางแผนยั่วยุสุมาอี้โดยการส่งเสื้อผ้าและเครื่องประดับสตรีให้สุมาอี้ และกล่าวว่า หากไม่กล้าออกรบก็ให้ใส่เสื้อผ้าและเครื่องประดับสตรีซะ แต่ทำยังไงสุมาอี้ไม่ยอมออกรบ โดยสุมาอี้เกิดความสงสัยว่าปกติขงเบ้งไม่น่าจะรีบร้อนออกรบขนาดนี้ จึงได้ถามทูตที่มาส่งเสื้อผ้าสตรีว่า “ขงเบ้งสบายดีอยู่หรือ กินอิ่มนอนหลับหรือไม่” ทูตที่ขงเบ้งส่งมาจึงตอบกลับไปว่า “ท่านขงเบ้งกินข้าวไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ” เมื่อสุมาอี้ได้ยินดังนั้นจึงคิดว่างานนี้ขงเบ้งคงต้องแพ้ภัยตัวเองแน่นอน สุมาอี้จึงสั่งเสริมกำลังทหารเพื่อป้องกันค่ายไว้ให้แน่นหนา โดยในตอนนี้กองทหารของสุมาอี้มามากกว่าขงเบ้งเกือบ 2 เท่า

ขงเบ้ง
ขงเบ้ง

เมื่อขงเบ้งทราบว่าสุมาอี้ไม่ยอมออกรบแถมเสริมกำลังทหารอีก ทำให้ขงเบ้งเกิดความเครียดอย่างมาก และด้วยการที่กินข้าวไม่ได้ และนอนไม่หลับทำให้ขงเบ้งนั้นต้องล้มป่วยลง และสิ้นใจในเวลาต่อมา ทำให้กองทัพฉู่ฮั่นต้องถอนทัพกลับเมืองฮันต๋ง เมื่อสุมาอี้ทราบข่าวว่าขงเบ้งสิ้นใจแล้ว ก็สั่งให้กองทัพของตัวยกทัพกลับลกเอี๋ยง พร้อมทั้งบอกกับเหล่าขุนนางว่า “ขงเบ้งตายแล้ว เห็นทีพวกเราจะได้หลับกันอย่างสบายซะที” เหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญมาก เพราะว่า ขงเบ้งเปรียบเป็นเสมือนเสาค้ำฟ้าของฉู่ฮั่น เมื่อขงเบ้งต้องมาตายลงกลางศึกทำให้กองทัพเสฉวนอ่อนแอลงไปอีก โดยสรุปแล้วสงครามครั้งนี้ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของสุมาอี้ที่ตัดสินใจ ถูกต้องในการไม่ออกรบกับขงเบ้ง

เหตุการณ์ใกล้เคียงกันนี้เกิดขึ้นอีกครั้งในยุทธการแห่งแอล-อาลาเมน อันเป็นสงครามระหว่างกองทัพอังกฤษและกองทัพเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1942

หลังจากการปะทะกันอย่างดุเดือดกองทัพอังกฤษเสียท่าและต้องถอนทัพมาป้องกัน โดยกองทัพที่ 8 นำโดยนายพลเบอร์นาร์ด ลอว์ มองต์โกโมรี ได้ขอเลื่อนการโจมตีกองทัพรอมเมลออกไปเพราะว่ากองทัพอังกฤษยังไม่พร้อมที่จะ รบ ในการโจมตีที่ตั้งของอังกฤษที่แอล-อาลาเมนของรอมเมลจึงไม่สามารถฝ่าแนว ป้องกัน ของอังกฤษไปได้ เพราะกองทัพอังกฤษได้รวมตัวยู่ในบริเวณนั้นอย่างหนาแน่น และการตีโต้ของกองทัพอังกฤษยังไม่เกิดขึ้นเพราะทหารอังกฤษอ่อนเพลียเช่นกัน รอมเมลจึงให้ทหารพักการรบชั่วคราว ในช่วงเวลาที่รอมเมลหยุดรบนี่เองทำให้กองทัพอังกฤษมีเวลาเสริมกองทัพของตน ให้ เข้มแข็ง พอถึงปลายเดือนรอมเมลจึงพบว่าตัวเขาเองไม่ใช่ฝ่ายอังกฤษที่ต้องเป็นฝ่ายตั้งรับ

มอนต์โกเมอร์รี่
มอนต์โกเมอร์รี่

ต่อมาในเดือนสิงหาคมอังกฤษสะสมกำลังแนวรบจนมีรถถัง 700 คัน รวมทั้งรถถังแกรนท์ของสหรัฐฯ อีก 160 คัน รอมเมลได้กำลังเพิ่มเติมเพียงทหารราบอย่างเดียว ขณะนั้นรอมเมลมีรถถังติดปืนใหญ่อยู่ประมาณ 200 คัน รวมทั้งรถถังแพนเซอร์ III จำนวน 74 คัน แพนเซอร์ VI ประมาณ 26 คัน กับรถถังล้าสมัยของอิตาลีอีก 20คัน ด้วยกำลังอาวุธเพียงเท่านี้ในระหว่างเวลากลางคืนของวันที่ 30-31 สิงหาคม ค.ศ. 1942 รอมเมลพากองทัพบุกเงียบทั้งนี้เพื่อต้องการยึดบริเวณทางตอนใต้ของแนวรบ อังกฤษโดยไม่ให้อังกฤษรู้ตัว หลังจากนั้นจึงจะบุกต่อไปในทางตะวันออกอีก 30 ไมล์แล้วจึงม้วนตัวกลับขึ้นไปทางเหนือพุ่งตรงไปยังบริเวณส่งกำลังบำรุงอขงก องทัพที่ 8 ของอังกฤษซึ่งอยู่ตรงบริเวณริมฝั่งทะเล การบุกรุกของรอมเมลครั้งนี้ปรากฏว่า ตรงบริเวณที่บุกเข้าไปมีสนามระเบิดซึ่งอังกฤษวางไว้เป็นจำนวนมากอย่างที่รอม เมลคาดไม่ถึง

พอรุ่งเช้าหัวหอกของรอมเมลจึงเดินทางไปได้ไกลเพียง 8 ไมล์ เมื่อกองทัพรถถังของรอมเมลเดินทางไปทางตะวันออกล่าช้ากว่าแผนการและยังถูก อังกฤษใช้เครื่องบินโจมตีอีก กองทัพรถถัง 2 กองพลของรอมเมลจึงต้องรีบเร่งขึ้นไปทางเหนือเป็นระยะห่างจากฝั่งทะเลสั้น กว่าแผนการที่รอมเมลกำหนด ดังนั้นกองทัพรถถังของรอมเมลแทนที่จะต้องโจมตีตรงบริเวณชายหาดกลับต้องเข้า ตีที่ตั้งของกองพลยานเกราะน้อยที่ 22 ของอังกฤษ กองทัพรถถังเยอรมนีเริ่มหมดเชื้อเพลิงแต่อังกฤษเสริมแนวต้านทานให้แข็งแกร่ง ยิ่งขึ้น ประกอบกับอังกฤษระดมเครื่องบินทิ้งระเบิดขบวนรถถังของรอมเมลที่กำลังบุกเข้า มาอย่างหนัก วันที่ 2 กันยายน รอมเมลจึงตัดสินใจให้กองทัพของตนค่อยๆ ถอย ยุทธการครั้งนี้เรียกว่า “ยุทธการแห่งอาลาม อัล-ฮัลฟา” เป็นยุทธการที่แปลกประหลาดในแง่ของนักยุทธวิธีที่ว่า ฝ่ายตั้งรับอย่างเดียวโดยไม่ได้ทำการรุกตอบโต้เลยกลายเป็นผู้ชนะ

ว่ากันว่าหลังจากเหตุการณ์นี้ จิ้งจอกทะเลทรายรอมเมลได้กล่าวกับนายทหารของตนว่า “มอนต์โกเมอร์รี่คนนี้คือคู่ต่อสู้ที่แท้จริง”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *