โจมตีเมืองสามก๊ก

กลยุทธ์สยบมหาอำนาจ (2)

โจมตีเมืองสามก๊ก
โจมตีเมืองสามก๊ก

กลยุทธ์สยบมหาอำนาจ (2) : จากยุทธการเตียงอันสู่การพิชิตเนเธอร์แลนด์ใน 5 วัน ตำราพิชัยสงครามซุนวูว่าไว้ว่า “เมื่อรบพึงชนะเร็ว ยืดเยื้อกำลังก็เปลี้ยขวัญทหารก็เสีย ตีเมืองจักไร้พลัง ทำศึกนอกประเทศนาน ในประเทศจักขาดแคลน เมื่อกำลังเปลี้ยขวัญทหารเสีย สูญสิ้นทั้งไพร่พลและเศรษฐกิจ เจ้าครองแคว้นอื่น จักฉวยจุดอ่อนเข้าบุกรุก แม้จะมีผู้เยื่ยมด้วยสติปัญญาก็สุดจะแก้ไขให้กลายดี”

ในยุคของสามก๊ก หลังจากที่แม่ทัพเสเหลียงนามว่า ม้าเท้ง ถูกโจโฉฆ่าตายโดยการแอบอ้างราชโองการ ม้าเฉียวทราบข่าวม้าเท้งและน้องชายถูกสังหารแค้นเป็นอันมาก จัดแจงรวบรวมกองทัพทั้งหมดที่มีในแคว้นรวมได้ 200,000 คน และได้ยกกองทัพพร้อมด้วยหันฮุยเพื่อนร่วมสาบานของม้าเท้งตีเมืองเตียง อัน(ฉางอัน)และด้วยการโจมตีที่ใช้ทหารม้าบุกเข้ามาทำให้กองทัพของ “จงฮิว” ไม่ทันตั้งตัว จึงจำเป็นต้องทิ้งเมืองหนีกลับเมืองหลวงไปแจ้งข่าวแก่โจโฉถึงข่าวการรุกราน ของม้าเฉียว ในการบุกครั้งนี้ทำให้โจโฉต้องเสียเมืองเตียงอัน(ฉางอัน)และด่านตงก๋วน ด่านชั้นนอกของเตียงอันอย่างรวดเร็ว

ม้าเฉียวแห่งเสเหลียง
ม้าเฉียวแห่งเสเหลียง

หัวใจของการโจมตีแบบสายฟ้าแล่บต้องโจมตีในจังหวะที่ข้าศึกไม่คาดคิดว่าเราจะ ทำการรบ และคาดไม่ถึงว่าเราจะบุกมาทางไหนถ้าเราทำได้ชัยชนะก็ย่อมเป็นของเรา กลยุทธ์การโจมตีแบบสายฟ้าแล่บมีการพัฒนามาเรื่อยๆตามยุคสมัยจนถึงสมัยสงคราม โลกครั้งที่ 2 กองทัพนาซีเยอรมันได้ใช้กลยุทธนี้เพื่อพิชิตยุโรปดังนี้

หลังจากที่โปแลนด์พ่ายแพ้ ไม่มีใครคิดว่า กองทัพเยอรมันจะเข้าโจมตีที่ใดบ้าง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 เยอรมันเริ่มบุกโจมตีเนเธอร์แลนด์ โดยการส่งพลร่มลงยึดสนามบินที่มอเออร์ดิจ์ค ดอร์เดรคและที่รอดเตอร์ดามไว้ก่อน แล้วส่งทหารลงที่สนามบินรอบๆ กรุงเฮก ในวันเดียวกันทหารภาคพื้นดินเยอรมันเจาะทะลวงเข้าไปในแนวต้านทานที่พีลทาง หัวโค้งไปทางด้านตะวันตกของแม่น้ำมาส วันที่ 11 พฤษภาคม ทหารดัทช์ถอยร่นไปทางตะวันตกผ่านทิลเบอร์กไปยังเบรดา พร้อมกันนั้นกองทัพที่ 7 ของฝรั่งเศสภายใต้การนำของนายพล เฮนรี ไจรอด ซึ่งนำกองทัพบุกข้ามเบลเยี่ยมมาเป็นระยะทางกว่า 140 ไมล์ เข้าไปในทิลเบอร์กต้องถอยร่นยังเบรดาด้วย ดังนั้นกองทัพรถถังเยอรมันจึงเดินทางไปตามท้องถนนเข้าสู่มอเออร์ดิจ์คได้ สะดวก

บุกเนเธอร์แลนด์
บุกเนเธอร์แลนด์

พอถึงบ่ายของวันที่ 12 พฤษภาคม กองทัพรถถังเยอรมันบุกมาถึงชานเมืองรอดเตอร์ดาม ซึ่งในบริเวณทางเหนือของแม่น้ำมาสซึ่งเป็นบริเวณที่มีทหารชาวดัทช์อยู่อย่าง หนาแน่น กองทัพเยอรมันจึงได้ทำการตีทะลวงกองทัพชาวดัทช์ ทำให้ทหารดัทช์ไม่สามารถตอบโต้ได้ และได้ถอนกำลังลงมายัง ป้อมแห่งฮอลแลนด์ เพื่อป้องกันเมืองอูเทรคท์และเมืองอัมสเตอร์ดามไว้ เมื่อสถานการณ์คับขัน ราชินีวิลเฮล์ม มินา กับคณะรัฐบาลของเนเธอร์แลนด์จึงออกจากประเทศไปยังอังกฤษในวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1940

วันรุ่งขึ้นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเนเธอร์แลนด์คือ นายพล เฮนรี่ เกอราร์ด วินเกลแมน จึงประกาศยอมแพ้ต่อกองทัพเยอรมัน เป็นอันว่ากองทัพเยอรมันสามารถเข้าพิชิตเนเธอร์แลนด์ได้อย่างเด็ดขาดโดยใช้ เวลาเพียง 5 วัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *