4 สุดยอดสมบัติจีน (2) หมึกจีน ่ในยุคหินใหม่ โดยมีการขุดพบเครื่องปั้นดินเผาของยุคนี้ ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้มีทั้งที่แต้มลายสีแดง สีเทา และสีดำ ซึ่งมีความสวยงามมาก โบราณวัตถุเหล่านี้ถูกขุดพบตามโบราณสถานต่างๆ นับร้อยแห่งทั้งประเทศจีน
ถัดมาในสมัยราชวงศ์ฉิน ซึ่งอยู่ในช่วงราว 850-550 ปีก่อนพุทธกาล โดยได้ขุดพบกระดองเต่าและกระดูกสัตว์จากโบราณสถานในยุคนี้ และพบว่าบนกระดองสัตว์เหล่านี้มีรอยหมึกจารึกตัวอักษรไว้ และมักเขียนไว้บนด้านหน้า นี่แสดงว่า คนจีนในยุคนั้นมีความรู้เรื่องการใช้หมึกเขียนหนังสือไว้บนกระดองกระดูก สัตว์กันแล้ว และยังมีการใช้สีชาด (สีแดง) ผสมหมึกดำเพื่อให้ตัวอักษรดูเด่นชัดขึ้น
เอกสารเก่าแก่ที่สุดที่บันทึกเรื่องของหมึกไว้คือ “ส้างซู” โดยบันทึกการลงโทษด้วยการสักตัวหนังสือลงหมึกไว้บนหน้าผากนักโทษ และ “อี้หลี่” บันทึกการใช้หมึกทาเชือกเพื่อตีเส้นตรงในงานก่อสร้าง จะเห็นได้ว่าคนจีนใช้หมึกกันมาช้านานแล้ว
หมึกที่คนจีนใช้มาจากไหน อย่างหนึ่งมาจากธรรมชาติ คือหมึกหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และคราบเขม่าที่เกาะแน่นเป็นก้อนอยู่ใต้ท้องกระทะและหม้อสามขา หนังสือชื่อ “ซู่กู่ซูฝ่าจ่วน” (ชุมชุนงานศิลปะการเขียนศิลปะลายมือพู่กันสมัยโบราณ) ได้บันทึกไว้ว่า “สิงอี๋เริ่มทำหมึก โดยใช้คำ “เฮย” (HEI-ดำ) ผสมกับคำ ถู่ (TU-ดิน) ได้คำ (MO-หมึก) หมึกได้จากการเผาด้วยถ่านหิน จัดเป็นพวกดิน” แสดงว่าคนจีนเริ่มทำหมึกใช้กันมาตั้งแต่รัชสมัยของพระเจ้าโจวซวนหวาง หรือราว 284-238 ปีก่อนพุทธกาล
หมึกที่คนทำขึ้นหรือหมึกประดิษฐ์ย่อมดีกว่าหมึกธรรมชาติแน่นอน ทั้งในเรื่องของคุณภาพ คุณค่าการใช้งาน และความสวยงาน แล้วในที่สุด คนจีนก็ค่อยๆเลิกใช้หมึกธรรมชาติกันไป หมึกประดิษฐ์ทันในหลายรูปแบบ จนกระทั่งเริ่มใช้แม่พิมพ์ทำกัน
วัตถุดิบสำคัญที่คนโบราณใช้ทำหมึก เช่น เขม่าถ่านจากไม้สน ไม้แวร์นิช และไม้ถง โดยเลือกใช้เขม่าถ่านไม้สนก่อน หากไม่ค่อยมีจึงค่อยใช้เขม่าถ่านจากไม้แวร์นิชและไม้ถง เขม่าถ่านที่จะใช้ทำหมึกเป็นวัตดุดิบกึ่งสำเร็จรูป จะต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆ อีก เช่น ผสมกาว นวด นึ่ง และปั้นเป็นแท่ง ถึงจะออกมาเป็นแท่งหมึกสำเร็จรูป
ในสมัยราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่น วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการทำหมึกคือ เขม่าถ่านจากไม้สน แต่ก็มีการใช้เขม่าถ่านไม้แวร์นิชและไม้ถงด้วย จนมาถึงสมัยราชวงศ์ตงฮั่น (ฮั่นตะวันออก) เนื่องจากมีการคิดค้นทำกระดาษและปรับปรุงพู่กันให้ดีขึ้น ก็เลยมีการปรับปรุงคุณภาพของหมึกให้ดีขึ้นด้วย เพื่อสนองความต้องการใช้งาน ทั้งงานเขียนหนังสือและงานจิตรกรรม
ในสมัยราชวงศ์จิ้น ได้ค้นพบกาวผสมในหมึก และปรับปรุงฝีมือในการทำให้ดีขึ้นด้วย มาในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง ทางการเริ่มให้ความสำคัญกับการทำหมึกมากขึ้น มีการจัดตั้งโรงงานของทางการขึ้นผลิตหมึกเพื่อใช้ในงานราชการ และได้ขยายแหล่งผลิตจากเมืองฝูฟ่งไปจนถึงเมืองอี้สุ่ย เมืองลู่โจว เพราะเมืองเหล่านี้มีไม้สนเนื้อดีเป็นที่ขึ้นชื่อมาก จึงถือเป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับการผลิตหมึก ในปลายสมัยราชวงศ์ถัง บ้านเมืองเกิดความวุ่นวายระส่ำระสายอันเนื่องมาจากกรณีกบฏ เป็นเหตุให้ผู้คนอพยพลงใต้เป็นจำนวนมาก ซึ่งในจำนวนนั้นก็มีช่างทำหมึกอยู่ด้วย ถึงกับส่งผลให้การผลิตหมึกย้ายฐานการผลิตจากเหนือลงมาใต้ และนับแต่นั้นมา หมึกที่ผลิตจากเมืองฮุยโจว ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเมืองเส้อ มณฑลอัยฮุย ก็ครองตลาดในจีนแบบไร้คู่แข่งมาตลอด
ในสมัยราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์หยวน หมึกจากเมืองฮุยโจวก็ยังครองตลาดอยู่ต่อไป และเริ่มมีการนำเอาสมุนไพรมาผสมลงในหมึก ช่วงเวลานี้เองที่ปัญญาชนจีนและศิลปินเริ่มสะสมแท่งหมึกกัน นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้เริ่มมีการผลิตแท่งหมึกเป็นงานศิลปะอีกอย่างหนึ่งด้วย
ก่อนสมัยราชวงศ์หมิงและชิง เมืองฮุยโจวคือแหล่งผลิตแท่งหมึกที่เจริญรุ่งเรืองมาก แท่งหมึกจากเมืองนี้มีชื่อเสียงดีมาก มาในสมัยราชวงศ์หมิง การผลิตแท่งหมึกได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นทั้งในแง่ของวิธีการผลิตและแง่ของฝี มือช่างเชิงศิลปะ วิธีการผลิตแท่งหมึกจากเขม่าไม้ถงและไม้แวร์นิช ซึ่งแต่ก่อนถือเป็นสูตรลับไม่ยอมเปิดเผยให้คนนอกรู้ ก็ไม่เป็นความลับอีกต่อไปจึงเริ่มใช้วิธีนี้กันอย่างกว้างขวาง แท่งหมึกที่ทำด้วยวัสดุและกรรมวิธีที่ว่านี้ จะแลดูดำเงาเป็นมันขลับและมีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ
ส่วนใครกันแน่ที่เป็นคนทำ (แท่ง) หมึกคนแรก หลอซินในสมัยราชวงศ์หมิงผู้ป็นเจ้าของหนังสือ “วู่หยวน” ได้เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ว่า “สิงอี๋ทำหมึก จึงเริ่มมีการใช้หมึกเขียนหนังสือแบบอักษรโจ้วไว้บนผ้าไหม” โจ้วเป็นแบบตัวอักษรจีนชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในสมัยราชวงศ์โจว ซึ่งต่อมาเรียกว่าต้าจ้วน สิงอี๋คนนี้อยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าซวนหวางแห่งราชวงศ์โจวนี่เอง แต่หลอซินบอกว่านี่เป็นเพียงตำนานเรื่องเล่าเท่านั้น
แต่เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้บันทึกไว้ว่า คนจีนคนแรกที่ทำหมึกคือ เหวยต้าน ชื่อรอง จ้งเจียง ในสมัยสามก๊ก เค้าไม่ได้เป็นเพียงช่างทำหมึกเท่านั้น แต่ยังเป็นนักเขียนภาพอักษรอีกด้วย และถึงกับมีคนชมหมึกที่เค้าทำว่า “หมึกของจ้งเจียงหยดหนึ่งดังลงรัก”
แต่ช่างทำหมึกที่มีชื่อเสียงที่สุดกลับเป็นสองพี่น้องแซ่ซี จากแถบลุ่มแม่น้ำอี้สุ่ย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอเป่ย พวกเค้าได้ผสมกาวที่ทำจากเขากวางใส่ในแท่งหมึกด้วย ทำให้แท่งหมึกดูนวลอิ่มและเนียนละเอียด เขียนแล้วหมึกเป็นมันวาวดังลงรักไว้ ต่อมาในสมัยราชวงศ์หนานถัง สองพี่น้องได้อพยพลงใต้มาลงหลักปักฐานอยู่ที่มณฑลอันฮุย และเนื่องจากพระเจ้าหลี่อี้ชื่นชอบหมึกที่พวกเค้าทำมาก จึงพระราชทานแซ่หลี่อันเป็นพระราชสกุลให้พวกเค้า ทำให้หมึกของสองพี่น้องสกุลนี้ได้ชื่อว่า “หลี่โม่” (หมึกสกุลหลี่) และพลอยได้ราคาดีไปด้วย ถึงกับกล่าวขาลกันว่า “ทองคำหาง่าย หมึกหลี่โม่หายาก” หมึกหลี่โม่ที่ว่านี้ ต่อมาคือ หมึกของหลี่เยนกุยอันลื่อชื่อนี่เอง
แหล่งทำหมึกของจีนในสมัยราชวงศ์หมิงอยู่ในเขตหว่านหนานเสียเป็นส่วนใหญ่ และเกิดแตกสาขาออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมาจากอำเภเส้อ เช่น เฉิงจวินฝางที่ใช้วิธีลงรัก ฟางหวีหลู่ทำหมึกที่เรียกว่า “จิ๋วเสียนซานจี๋” และวังจงซานจากอำเภอซิวหนิงคือคนคิดค้นแท่งหมึก “จี๋จิ่นโม่” ช่างทำหมึกจึงเริ่มอวดฝีมือช่างเชิงศิลปะด้วยการสลักลวดลายบนแท่งหมึก และประดับกล่องใส่แท่งหมึกอย่างวิจิตรงดงาม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนางานศิลปะขั้นสูงยิ่งของจีน เช่น งานจิตรกรรม การเขียนภาพอักษร งานแกะสลัก เป็นต้น แม่พิมพ์แท่งหมึกของช่างทำหมึกที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนี้ มักจะใช้ผลงานภาพเขียนศิลปะอักษร คำกวีนิพนธ์ และคำจารึกต่างๆ มาสลักไว้บนแท่งหมึก โดยเฉพาะงานศิลปะการแกะสลักภาพเขียนหรืองานศิลปะอักษรขนาดจิ๋ว จะส่งผลให้แท่งหมึกราคาสูงยิ่ง
ในสมัยราชวงศ์ชิง มณฑลอันฮุยยังคงเป็นแหล่งผลิตหมึกที่สำคัญของจีน แท่งหมึกจีนนอกจากจะสิ่งจำเป็นสำหรับงานเขียนและงานจิตรกรรมแล้ว ตัวมันเองยังกลายเป็นงานศิลปะที่เน้นความวิจิตรงดงามกันมากขึ้น การออกแบบลวดลายเป็นไปอย่างประณีตยิ่งนัก จนทำให้แท่งหมึกกลายเป็นของสะสม นักสะสมคนสำคัญอย่างเฉาอิ่น ก็ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชสำนักชิงให้ดูแลการผลิตหมึก แท่งหมึกที่สลักลวดลายไกหว่านทอผ้า และลายดอกฝ้าย น่าจะบ่งบอกถึงมาตรฐานและเอกลักษณ์ของช่างฝีมือหลวงในสมัยนั้นได้เป็นอย่าง ดี ส่วนช่างทำหมึกฝ่ายชาวบ้านที่มีทั้งฝีมือและชื่อเสียง เห็นจะได้แก่เฉาซู่กง วังจิ้นเซิ่ง วังเจี๋ยเจี้ยน และหูไคเหวิน ถือเป็น 4 ตระกูลใหญ่แห่งวงการหมึกจีน
หมึกจีนโบราณ หากจำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้งานแล้ว จะได้ดังนี้
• แท่งหมึกธรรมดา เป็นหมึกที่ใช้เขียนหนังสือกันทั่วๆ ไปมีรูปทรงเรียบๆ ชื่อหมึกและชื่อช่างหรือร้านที่ทำ มักจะเขียนด้วยตัวอักษรสีแดงหรือน้ำเงินธรรมดา
• แท่งหมึกบรรณาการ เป็นหมึกที่บรรดาเจ้าเมืองตามหัวเมืองในสมัยโบราณ สั่งให้ช่างทำหมึกทำขึ้นเพื่อนำขึ้นถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการแก่พระเจ้า แผ่นดิน หรือเป็นการเกณฑ์เก็บแท่งหมึกเหล่านี้จะมีชื่อผู่ถวายสลักอยู่บางแท่งอาจมี ชื่อช่างท
ำหมึกด้วย และส่วนมากจะเป็นของล้ำค่าราคาดี
• หมึกหลวง เป็นหมึกสำหรับให้ฮ่องเต้ใช้โดยเฉพาะจึงเริ่มมีการแต่งตั้งขุนนางเพื่อดูและการผลิตม
าตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ในสมัยราชวงศ์ชิง แท่งหมึกหลวงมีด้วยกันสองชนิดคือ ชนิดที่ผลิตโดยกองกิจการภายในราชสำนักกับชนิดที่ผลิตโดยช่างทำหมึกเมืองฮุย โจว โดยแท่งหมึกชนิดแรกจะไม่ค่อยมีให้พบเห็นนอกรั่วพระราชวังมากนัก แต่ก็ไม่สามารถประเมินราคาค่างวดได้เช่นกัน
• แท่งหมึกทำกันเอง เป็นแท่งหมึกที่ผู้ทำทำขึ้นเองตามความต้องการของตน ใน “จดหมายเหตุเมืองเส้อ” ได้ระบุไว้ว่าหมึกที่ทำกันเองในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง มีสองชนิดคือ ชนิดที่นักเขียนและศิลปินทำขึ้นเองอย่างที่ใจชอบ และชนิดที่มีไว้สะสม
• แท่งหมึกสำหรับสะสม เป็นหมึกที่ไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อใช้งาน แต่มีไว้เพื่อสะสม ส่วนมากจะมีรูปทรงกะทัดรัด มีขนาดพอเหมาะ ใช้วัสดุชั้นดี ทำโดยช่างฝีมือชั้นครู จึงมีคุณค่าทางศิลปะสูง นับเป็นของล้ำค่า
• แท่งหมึกสำหรับเป็นของกำนัลของฝาก มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ แท่งหมึกของขวัญวันเกิด วันสมรส และของกำนัลที่ให้กันเองในหมู่บัณฑิต หมึกพวกนี้มักเน้นรูปลักษณ์ภายนอก และมีการตกแต่งบรรจุที่วิจิตรประณีต แต่มักใช้วัสดุที่มีคุณภาพต่ำ
• แท่งหมึกสมุนไพร ทำขึ้นเพื่อใช้บำบัดโรค มักทำจากเขม่าถ่านไม้สน บางแท่งอาจมีชื่อช่างทำหมึก หรือชื่อร้านยาสลักเอาไว้ด้วย
นี่เป็นการจำแนกหมึกตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งจะแตกต่างจากการจำแนกชนิดของหมึกที่จิตรกรจีนที่ใช้เขียนภาพหรือคัดลาย มือ มักจำแนกตามวัสดุที่ใช้ โดยทั่วไปจะมีด้วยกัน 2 ชนิด ชนิดแรกเรียกว่า “อิ๋วเอียนโม่” คือแท่งหมึกที่ได้จากการเผาน้ำมันจากไม้ถงหรือไม้แวร์นิช คุณสมบัติพิเศษของหมึกชนิดนี้คือให้สีดำเลื่อมมันขลับ อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “ซงเอียนโม่” ได้จากการเผากิ่งไม่สนให้เกิดเขม่าถ่าน ซึ่งจะนำไปทำหมึกอีกทีหนึ่ง คุณสมบัติพิเศษของหมึกชนิดนี้คือมีสีดำด้านไม่มันเงา ปกติแล้วการเขียนภาพจีนจะใช้หมึกชนิดแรกมากกว่า ส่วนชนิดหลังจะใช้ในกรณีเช่น ใช้แต้มดำในภาพเขียนสี หรืออะไรบางอย่างที่ไม่ต้องการความมันเงา เช่น ผีเสื้อสีดำ เส้นไหมสีดำ เป็นต้น การเลือกหมึกสำหรับภาพเขียนของเลือกแท่งหมึกที่แข็ง ให้น้ำหมึกเนียนละเอียด และต้องดูที่สีของหมึกด้วย ดีที่สุดคือสีดำขลับ ถ้าออกสีม่วงด้วยแล้วถือเป็นยอดหมึก รองลงมาคือสีดำล้วนและดำนิลตามลำดับ หมึกที่ออกแดงเหลืองมัน หรือขาวถือว่ามีคุณภาพแย่ สุดท้ายให้ดูกาวที่ผสมอยู่ในแท่งหมึก ต้องพอเหมาะพอควร เพราะถ้ามีมากไปหมึกจะเหนียวติดขนพู่กัน แต่ถ้าน้อยเกินไปน้ำหมึกก็จะไม่ข้น
การฝนหมึกจะต้องใช้น้ำเปล่าสะอาด เวลาฝนให้ออกแรงสม่ำเสมอ ค่อยๆ ฝนไปช้าๆ เพื่อให้น้ำหมึกที่ออกมาข้นและเนียนเสมอกัน และควรใช้หมึกที่เพิ่งฝนเสร็จใหม่ๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เพราะจะทำให้หมึกหดตัว ซึ่งจะใช้การไม่ได้ แต่ก็มีจิตรกรบางคนนิยมใช้หมึกที่หดตัวแล้วเขียนภาพเช่นกัน ซึ่งต้องถือเป็นกรณีพิเศษจริงๆ
ปัจจุบันมีการทำน้ำหมึกสำเร็จรูปสำหรับการเขียนภาพจีน ซึ่งสามารถใช้แทนกันได้ ความจริงน้ำหมึกที่ว่านี้มีการทำกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิงแล้ว