กระดาษ

4 สุดยอดสมบัติจีน (2)

กระดาษ
กระดาษ

4 สุดยอดสมบัติจีน (1) กระดาษเป็น 1 ใน 4 ของสิ่งประดิษฐ์ที่ทรงความหมายยิ่งต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ของโลกจาก จีน อีก 3 สิ่งที่เหลือคือ การพิมพ์ ดินปืน และเข็มทิศ หากไม่มีการค้นพบกระดาษของชาวจีน โลกคงจะขาดสิ่งที่ใช้บันทึกเหตุการณ์และเรื่องราวไปได้อีกหลายร้อยหลายพันปี ทีเดียว แต่กลับไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นผู้ที่ประดิษฐ์สิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ทราบเพียงว่าเป็นนักพรตเต๋าผู้หนึ่งที่ทำการเล่นแร่แปลธาตุขึ้นมาจนได้ดิน ปืน และกระดาษก็เช่นกัน

ความจริงแล้ว กระดาษมิใช่สิ่งเดียวที่บันทึกสิ่งที่คนเรารู้จัก ก่อนจะมีการประดิษฐ์กระดาษ มนุษย์เคยใช้ผนังถ้ำ กระดูกสัตว์ กระดองเต่า ซีกไผ่ แผ่นไม้ และผ้าแพร่ในการจารึก หรือเขียนหนังสือมาแล้ว

คนจีนมีสำนวนที่ว่า “ฟู่เสวียอู่เชอ” แปลว่า มีความรู้ห้าคันรถ หรือมีความรู้มากนั้นเอง ที่มาของสำนวนนี้มากจาก หุ้ยซือ นักวิชาการชื่อดังสมัยจั่นกั๋ว ที่เวลาไปไหนมาไหนจะต้องเอาหนังสือไปด้วยถึงหาคันรถ ที่ต้องเอาไปมากมายขนาดนั้นก็เพราะสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษ เวลาจะเขียนหรือบันทึกอะไรต้องสลักจารึกลงบนซีกไม้ไผ่ หรือแผ่นไม้ ซึ่งมีน้ำหมักมาก และไม่สะดวกเวลาจะอ่านหรือพกติดตัวไปไหนมาไหนด้วย

ต่อมาคนจีนเริ่มเขียนหนังสือลงบนผ้าแพรไหมเนื้อเบา แต่ผ้าพวกนี้มีราคาแพงมาก คนที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องเป็นพวกคนรวยหรือขุนนางเท่านั้น แต่คนจีนก็ฉลาดจากแนวคิดเรื่องการใช้ผ้าไหมบางเบานี้ มีการนำเอาเศษของเหลือใช้เช่นพวก เศษเชือกปอ เศษผ้า ฯลฯ มาทำเป็นแผ่นใยจากพืชไว้สำหรับเขียนหนังสือเรียกว่า “หมาจื่อ” แผ่นใยพืชนี้นี้ดูภายนอกแล้วประกอบด้วยกลุ่มเส้นใยพืชที่สั้นยาวไม่เท่ากัน ดังนั้น มันจะนับเป็นกระดาษหรือไม่ ยังเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันไม่รู้จบ

สีฟ่านเย่ได้บันทึกไว้ใน “โห้วฮั่นซู” ของเค้าว่า ไช่หลุนได้อธิบายถึงขั้นตอนการทำกระดาษให้พระเจ้าเหอตี้แห่งราชวงศ์ตงฮั่นฟังโดยละเอ
ียดว่า เค้าเอาเปลือกไม้ เศษเชือกปอและเศษผ้า มาทำเป็นกระดาษ คนจีนจึงเริ่มเชื่อกันมากว่าครึ่งศตวรรษว่า ไช่หลุนคนนี้แหละเป็นคนแรกที่คิดค้นทำกระดาษขึ้นในปี พ.ศ.648 แต่มีหลักฐานมากมายที่ระบุได้ว่าชาวจีนมีการทำกระดาษที่ว่านี้กันมานานแล้ว เช่น เศษกระดาษชิ้นหนึ่งที่พบในบริเวณโบราณสถานที่เคยเป็นจุส่งสัญญาณควันไฟใน มณฑลซินเกีย
งสมัยราชวงศ์ฮั่นเมื่อปี พ.ศ.2476 จากการตรวจสอบพบว่า เป็นกระดาษหมาจื่อในรัชสมัยของพระเจ้าซวนตี้แห่งราชวงศ์ซีฮั่น นับเป็นกระดาษใยพืชที่เก่าแก่ที่สุดนับตั้งแต่เคยขุดค้นพบมา นอกจากนี้ ยังมีการขุดพบกระดาษแบบนี้ในมณฑลกานซูและมณฑลส่านซีด้วย และในปี พ.ศ.2529 มีการค้นพบแผนที่โบราณสมัยซีฮั่นที่มณฑลกานซู

จากหลักฐานต่างๆ เหล่านี้ แสดงว่าคนจีนมีกระดาษใช้กันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซีฮั่น หรือเมื่อราวๆ พ.ศ.443 ก่อนที่ไช่หลุนจะมาทำกระดาษเกือบ 200 ปี เลยทีเดียว และคนจีนก็ใช้กระดาษ “หมาจื่อ” นี้ เป็นเครื่องมือในการบันทึกเรื่องราว เขียนหนังสือและเขียนภาพกันมาร่วมพันปี นับจากสมัยราชวงศ์ฮั่นถึงราชวงศ์ถัง

แล้วไช่หลุนที่คนจีนเชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์กระดาษขึ้นคนแรกคือใคร ? ไช่หลุนเป็นขันทีในพระเจ้าเหอตี้แห่งราชวงศ์ตงฮั่น เค้าเป็นคนปรับปรุงเทคนิคการทำกระดาษให้สมบูรณ์ขึ้น กระดาษของไช่หลุนจึงเหนียวและแข็งกว่า นักประวัติศาสตร์เรียกว่า กระดาษไช่โหว (โหว เป็นตำแห่งขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยโบราณ) หลังพุทธศตวรรษที่ 10 เทคนิคการทำกระดาษที่ไช่หลุนค้นพบ ได้ถูกเผ่ยแพร่ไปยัง เกาหลี ญี่ปุ่น อาหรับ และยุโรป ช่วนให้อารยธรรมของโลกก้าวหน้าไปอีกก้าวใหญ่

นอกจากกระดาษ “หมาจื่อ” แล้ว เอกสารประวัติศาสตร์จีนได้พูดถึงกระดาษชนิดอื่นอีก เช่น ในจดหมายเหตุ “ฮั่นซู” กล่าวไว้ในบทพระประวัติพระนางจ้าวว่า “พระเจ้าอู่ตีพบว่าในตะกร้ามีห่อยา 2 เม็ด พร้อมหนังสือเขียนมาในกระดาษเฮ้อถี” เหยียนซือกู่อธิบายไว้ในเชิงอรรถของจดหมายเหตุ “ฮั่นซู” ว่า “เฮ้อถี คือกระดาษบางชิ้นเล็กๆ” และเค้ายังอ้างคำอธิบายของเมิ่งคังที่บอกว่า “ถี เปรียบเช่นพื้นหลัง ย้อมกระดาษให้เป็นสีแดงแล้วเขียนหนังสือ เหมือนเช่นกระดาษสีเหลือง” จากคำอธิบายนี้ช่วยให้เรารู้ว่า กระดาษเฮ้อถีคือกระดาษบางชิ้นเล็กๆ ที่ย้อมเป็นสีแดง และเมื่อลองคำนวณเวลาดูแล้วเป็นปี พ.ศ.439 นี่แสดงว่าคนจีนมีกระดาษเนื้อค่อนข้างดีใช้กันตั้งแต่สมัยซีฮั่น ซึ่งตรงกับหลักฐานทั้งหลายที่ขุดพบตามโบราณสถานหรือสุสานโบราณ ที่ล้วนแล้วแต่บ่งบอกว่าอยู่ในสมัยราชวงศ์ซีฮั่นเกือบทั้งสิ้น

กระดาษที่พบในยุคนี้เป็นกระดาษที่พัฒนาขึ้นจาก “ซีกไผ่” และ “ผ้าแพรไหมเนื้อบาง” ที่มีไว้สำหรับเขียนหนังสือ และเป็นไปได้ว่า คนจีนในยุคนั้นจะใช้ทั้งสามสิ่งนี้สำหรับเขียนหนังสือ นอกจากนี้ หลักการเบื้องต้นของเทคนิคในการทำกระดาษสมัยซีฮั่นก็คือรากฐานของเทคนิคการ ทำกระดาษใ
นยุคปัจจุบันนั่นเอง

เนื่องจากสังคมจีนสมัยนั้น มีความเจริญก้าวหน้าทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เมื่อสังคมเจริญขึ้น ก็เกิดความต้องการกระดาษที่ดีขึ้น เบา และราคาถูก ตรงนี้แหละที่ไช่หลุนเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ

แม้ว่าไช่หลุน (Chi Lun) จะไม่ใช่ผู้ที่ประดิษฐ์กระดาษขึ้นเป็นคนแรก แต่ถ้าบอกว่าเค้าเป็นคนแรกที่ค้นพบเทคนิคการทำกระดาษที่สมบูรณ์ก็คงไม่ผิด นัก แม้ว่ากระดาที่เค้าทำขึ้นจะเป็นชนิดที่ 4 แล้วก็ตาม เพราะก่อนหน้านี้คนจีนมีกระดาษใช้กันแล้วถึง 3 ชนิดคือ กระดาษผ้าธง กระดาษผ้าไหม กระดาษเฮ้อถี ในจดหมายเหตุ “ฮั่นซู” บันทึกว่า

“ไช่หลุน ชื่อรองว่า จิ้งจ้ง ได้ถูกนำตัวเข้าถวายการรับใช้วังหลวงเมื่อปี พ.ศ.614 (เหตุการณ์ที่ทำให้ไช่หลุนต้องถูกนำตัวเข้าวัง เพราะ หลิวอิงซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น ฉู่หวาง ถูกใส่ร้ายว่าวางแผนการเป็นกบฏ ทำให้ไช่หวี่ที่ปรึกษาของเค้าพลอยโดนกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ไช่หลุนซึ่งเป็นลูกชายจึงถูกจับตอน และนำตัวเข้าถวายงานในวังหลวงที่กรุงลั่วหยางขณะมีอายุได้เพียง 12 ปีเท่านั้น) หลังจากเข้าวังหลวงได้ 2 ปี ไช่หลุนก็ได้รับความไว้วางใจจากรพสนมเอกซ่งกุ้ยเหยิน ผู้ที่พระเจ้าจางตี้รักใคร่เป็นที่สุด ให้เป็น ‘เสี่ยวหวงเหมิน’ (มีฐานะเป็นพระสหายร่วมเรียนกับพระโอรสในพระสนมเอกซ่งกุ้ยเหยิน และเนื่องจากไช่หลุนเป็นคนรักการเรียนและเรียนรู้ไว พระเจ้าจางตี้ทรงโปรดให้เลื่อนเค้าเป็นขันทีน้อย สามารถเข้าของห้องพระสมุดได้อย่างอิสระ)
หลังจากที่พระเจ้าจางตี้สรรคตแล้ว พระเจ้าเหอตี้ทรงขึ้นครองราชย์ ไช่หลุนได้เลื่อนตำแหน่งเป็น ‘จงฉางซื่อ’ (คล้ายตำแหน่งเลขานุการ ซึ่งทำให้เค้ามีส่วนร่วมในข้อราชการสำคัญ) ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.632 และในช่วงที่พระนางฮองไทเฮากำลังประชวรหนักนั้นเอง ก็เกิดการวางแผนคิดก่อกบฏขึ้น ไช่หลุนนำความขึ้นกราบทูลพระเจ้าเหอตี้ พระองค์จึงโปรดให้มีการจับกุมตัวผู้คิดก่อการกบฏทั้งหมด และให้ประหารชีวิตทั้งหมดเก้าชั่วโคตร โดยไม่ฟังคำคำทัดทานของไช่หลุน ทำให้เค้ารู้สึกท้อแท้หมดกำลังใจ และเป็นสาเหตุให้ไช่หลุนต้องออกจากราชการในภายหลัง”

ไช่หลุนเริ่มสนใจคิดปรับปรุงกรรมวิธีการทำกระดาษ และทำสำเร็จในปี พ.ศ.648 พระเจ้าเหอตี้ชื่นชมความสามารถของเค้านัก และสั่งให้เผยแพร่กระดาษนี้ออกไปให้ทั่วถึง จนคนทั่วไปเรียกกระดาษนี้ว่า กระดาษไช่โหว

กรรมวิธีที่ไช่หลุนใช้ในการพัฒนากระดาษคือ เค้าใช้ตะแกรงที่สานด้วยตอกคู่เส้นเล็กๆ วางไว้กับวงกบไม้สี่เหลี่ยม จากนั้นเอาจุ่มลงไปในกระบะที่ใส่วัสดุที่ใช้ทำกระดาษ แกว่งให้วัสดุเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในตะแกรง เกลี่ยให้เรียบเสมอกันแล้วจึงยกขึ้นจากกระบะ วงกบไม้จะช่วยไม่ให้วัสดุไม่ไหลกลับลงไปในกระบะอีก และต้องถือตะแกรงให้ราบขนานกับพื้นเพื่อกรองเอาน้ำออก จนเหลือแต่เส้นใยกระดาษอยู่บนตะแกรง แล้วจึงนำไปตาก

นอกจากคิดค้นวงกบไม้และตะแกรงเส้นตอกแล้ว วัสดุที่นำมาทำกระดาษของเค้าก็เป็นสิ่งที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงถือเป็นการค้นพบที่สำคัญอย่างยิ่ง

แม้ไช่หลุนจะมีตำแหน่งทางราชการใหญ่โต และอยู่ใกล้ชิดฮ่องเต้ แต่ชะตากรรมของเค้าในบั้นปลายกลับน่าสลดยิ่ง มันเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่คนซึ่งสร้างคณูปการอันยิ่งใหญ่ให้กับชาวจีน และชาวโลก จะต้องมาจบชีวิตด้วยการดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย เนื่องจากพระสนมเอกซึ่งเป็นย่าของเค้าถูกใส่ร้ายนั้นเอง

หลังยุคของไช่หลุน คนจีนเริ่มใช้วัสดุเพื่อทำกระดาษหลากหลายมากขึ้น ในสมัยราชวงศ์เว่ยและราชวงศ์จิ้น มีการใช้เปลือกหวาย ฟางข้าว เปลือกส้ม เปลือกต้นหม่อน ตำแย ฯลฯ ในสมัยราชวงศ์ตงจิ้นมีการใช้กัญชามาทำกระดาษซึ่งทำให้ได้กระดาษเนื้อเหนียว แข็งแรง ขาวสะอาด และน้ำซึมยาก

มาในสมัยที่จีนแตกเป็นราชวงศ์ต่างๆ กว่า สิบราชวงศ์นั้น ที่อำเภอเส้ออำเภออี้มณฑลอันฮุยของราชวงศ์ฝ่ายใต้ ได้มีการผลิตกระดาษเงินวาวและขาวบริสุทธิ์ และเป็นต้นกำเนิดกระดาษที่ขึ้นชื่อมากชนิดหนึ่งของจีนที่เรียกว่า “ซวนจื่อ” กระดาษมีคุณภาพดีจนพระเจ้าอู่ตี้แห่งราชวงศ์
เหลียง (ราชวงศ์ฝ่ายใต้) ถึงกับทรงนิพนธ์บทกลอนชมกระดาษว่า

“ขาวพิสุทธิ์เงาวาวราวหิมะ
จตุระดุจกระดานหมากรุกหนอ
จักเล่าเรื่องและบันทึกก็ดีพอ
ฤาจะขอเปรียบอวนแหที่เคยทำ”

จะเห็นได้ว่ากระดาษในสมัยนั้นมีคุณภาพดีพอสมควรทีเดียว และในปี พ.ศ.728 เทคนิคการทำกระดาษของจีนก็เริ่มแพร่เข้าไปในญี่ปุ่น

แล้วยุคทองของกิจการกระดาษก็มาถึงอย่างรวดเร็ว เมื่อจีนกลับมาเป็นปรึกแผ่นอีกครั้งในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง เริ่มมีกระดาษหลายรูปแบบหลากชนิด โดยสมัยราชวงศ์สุยคนจีนมีกระดาษย้อมสีใช้กันแล้ว ในสมัยราชวงศ์ถังยังคงมีการพัฒนากระดาษหมาจื่อกันต่อไป กระดาษ “หมาจื่อ” ที่มีชื่อเสียงมาจากเมืองหยางโจว และยังมีการทำกระดาษชนิดหนึ่งโดยใช้เปลือกไม้จันทร์เป็นวัสดุสำคัญ เรียกว่ากระดาษ “ซวนจื่อ” ซึ่งถือเป็นกระดาษเนื้อดีของจีนในสมัยนั้น โดยเนื้อกระดาษขาวสะอาด แข็งแรง นุ่มเนียนละเอียด เรียบ และสีไม่ตก กระดาษชิ้นหมึ่งอาจยาวถึง 50 เชียะ หรือราว 15 เมตร และถูกจัดเป็นของสำหรับใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินโดย เฉพาะ

กระดาษย้อมสีก็มีความสำคัญมากในสมัยราชวงศ์ถัง เช่นกระดาษแข็งสีเหลือง งเป็นกระดาษย้อมสีที่ขึ้นชื่อมากชนิดหนึ่ง เพราะมีการชุบกาวและฉาบไขเทียน เพื่อให้กระดาษหนา แข็งแรงและลื่นมัน จากนั้นจึงใช้น้ำยาย้อมให้เป็นสีเหลืองอีกที กระดาษชนิดนี้จะไม่มีมอดกัดกิน ไม่ขึ้นรา และกันน้ำได้ เหมาะที่จะใช้จารึกคัมภีร์ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีกระดาษย้อมสีคุณภาพดีสำหรับเขียนจดหมายเกิดขึ้นด้วยเช่น “กระดาษสู่เจียน” จากมณฑลเสฉวน ซึ่งมีด้วยกันถึง 10 สี เช่น แดงเข้ม ชมพู เหลืองสด เป็นต้น

ในสมัยราชวงศ์ถังนี่เอง ที่เทคนิคการทำกระดาษของจีนแพร่ไปยังอาหรับ จากนั้นก็แพร่ถึงยุโรป จนคนทั่วโลกยอมรับว่า นี่คือสิ่งประดิษฐ์สำคัญจากจีน

ในสมัยราชวงศ์ซ่ง คนจีนหันมาใช้ไม้ไผ่และเปลือกต้นหม่อนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Paper mulberry เป็นวัสดุสำคัญในการทำกระดาษแทนต้นปอ จนได้พัฒนากระดาษจากไผ่ที่เหมาะสำหรับงานพิมพ์ ซึ่งช่วงนั้นกำลังเฟื่องฟูขึ้น ทำให้กระดาษชนิดนี้กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย และมีการพัฒนาเทคนิคการแปรรูปกระดาษให้ดีขึ้นเรื่อยๆ นอกจากเนื้อกระดาษจะเนียนละเอียดแล้ว ยังมีการใช่วัสดุอื่นมาช่วยเสริม เช่น ไขเทียนหรือขี้ผึ้ง แป้งเปียก หน่อต้นก๊อก กาวจากสัตว์ สารส้ม ฯลฯ โดยมีการแต่งด้วยเงินหรือทองเพื่อให้กระดาษวาวเงา ลื่น และสวยขึ้น

ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง การทำกระดาษของจีนพัฒนายิ่งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะกระดาษ “เจียนจื่อ” และ “ซวนจื่อ” ทำได้ประณีตมากขึ้น จึงมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวาง

ในทางเทคนิคมีการทากาว ใส่สารส้มเติมไขเทียน ย้อมสี พิมพ์ลาย บดเรียบอาบมัน อาบเงินอาบทอง เป็นต้น ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จดีทีเดียว และบังมีการค้นพบวิธีการที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การพิมพ์สอดสี พิมพ์ลายนูน ทำเป็นกระดาษ “เจียนจื่อ” เนื้อดีที่ประณีตสวยงามไว้หลากหลายรูปแบบสำหรับงานเขียนหนังสือหรือจดหมาย โดยเฉพาะ

ในสมัยราชวงศ์ชิง มีการขยายพื้นที่ประกอบกิจการทำกระดาษ “ซวนจื่อ” ออกไปอย่างกว้างขวาง จนเกิดกระดาษอีกมากมายหลายชนิด และยังมีกระดาษชนิดพิเศษที่มีชื่อเสียงอีกไม่น้อย เช่น กระดาษผ้าที่ทำจากอำเภอหวี่ในมณฑลหูหนาน และกระดาษนุ่มจากอำเภอไหลหยางในมณฑลหูหนาน เป็นต้น ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิง จีนได้นำเข้าเทคโนโลยีการทำกระดาษด้วยเครื่องจักร ซึ่งช่วยพักดันให้กิจการทำกระดาษของจีนก้าวไปข้างหน้าอีกก้าวใหญ่ และเป็นที่น่าสังเกตว่าเทคโนโลยีของจีนในสมัยนี้ ได้ล้าหลังกว่าทางยุโรปและอเมริกาแล้ว

ในสมัยนั้นมีการทำกระดาษที่มีคุณภาพดีออกมาเป็นจำนวนมาก ด้วยวัสดุที่คัดสรรมาอย่างดี ทำกันอย่างประณีตและมีหลากหลายรูปแบบ โดยกระดาษส่วนใหญ่จะมีใช้กันเฉพาะในวังหลวงเท่านั้น เนื่องจากเป็นงานฝีมือดีและมีคุณค่าทางศิลปะสูง กระดาษส่วนหนึ่งจึงไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน หากแต่ถูกเก็บสะสมไว้โดยบรรดานักเขียนและปัญญาชนผู้หลงใหลมัน และด้วยคุณค่าที่เป็นของโบราณ ในยุคหลังจึงมีการทำเรียนแบบขึ้น ซึ่งต้องใช้ความรู้พอสมควรที่จะแยกแยะได้ว่าอันไหนจริงอันไหนปลอม ถ้าระดับมืออาชีพทำกัน ก็คงต้องใช้เครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ทั้งเนื้อกระดาษ รูปแบบ ลวดลาย ถึงจะบอกได้ว่าเป็นกระดาษโบราณหรือไม่ และเป็นของสมัยใด แต่หากจะมองกันด้วยตาเปล่าคร่าวๆ ก็คงพอได้ เช่น กระดาษโบราณมักมีสีซีด แต่จะดูมันเงาเรียบเสมอกันมากกว่า ไม่มีสิ่งใดปลอมปน สีภายนอกจะดูซีดเก่า แต่เนื้อกระดาษจะต้องมีสีสดใหม่ และถ้าเป็นกระดาษโบราณชนิดหนา กระดาษมักจะกรอบ ขาดยุ่ยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย และส่วนมากจะมีลายพาดเฉียง
แต่ถ้าเป็นกระดาษทำปลอมเรียนแบบ สีจะไม่ซีดเก่าตามธรรมชาติ แต่มักใช่สีย้อมให้ดูเก่า และสีออกเหลืองแบบฟางข้าว ผิวและเนื้อในกระดาษจะถูกย้อมเป็นสีเดียวกันหมด กระดาษเนื้อบางจะขาดยุ่ยง่าย ส่วนกระดาษชนิดหนาจะขาดยุ่ยยาก และถ้าบังเอิญขาด เศษกระดาษก็จะเป็นชิ้นใหญ่และมีลายตรง
การรู้จักดูกระดาษโบราณมีประโยชน์มากที่จะช่วยให้เราดูออกว่าภาพเขียนหรือหนังสือโบร
าณเหล่านั้น เป็นของเก่าจริงหรือไม่ ภาพเขียนและภาพอักษรอายุนับพันปีอันล้ำค่าของจีนที่ยังเก็บรักษาไว้จนถึง ปัจจุบัน ล้วนแต่ใช้กระดาษ “ซวนจื่อ” ทั้งสิ้น

นอกจากรู้จักการจำแนกกระดาษโบราณแล้ว ยังควรจะรู้จักชนิดของกระดาษจีนด้วย ซึ่งแยกตามคุณสมบัติการดูดซับน้ำหมึกออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
กระดาษชนิดดูดซึมหมึกได้น้อย กระดาษชนิดนี้ส่วนมากจะทำจากเส้นใยไผ่ ผิวกระดาษค่อนข้างมันเรียบ น้ำหมึกมักเกาะตัวอยู่บนผิวกระดาษ ไม่กระจายซึมลงไปง่ายๆ สีสันจึงสดใสกว่า ที่สำคัญได้แก่กระดาษ “เจียนจื่อ” กระดาษชนิดนี้ใช้สำหรับเขียนหนังสือ จดหมาย หรืองานเอกสาร เช่น
กระดาษเฉิงซินถัง เป็นกระดาษที่ใช้สำหรับการเขียนภาพอักษรและภาพเขียนมาตั้งแต่สมัยหนานถังของมณฑลอันฮ
ุย มีคุณสมบัติพิเศษคือ บาง แข็ง เรียบลื่น เนื้อแน่นเนียน ขาวสะอาด ดูดซึมหมึกได้น้อย จัดเป็นกระดาษชั้นเลิศสำหรับงานประเภทภาพเขียน ในอดีตเคยเป็นกระดาษที่พระเจ้าหลี่วี่แห่งราชวงศ์หนานถังชื่นชอบมากที่สุด จนกลายเป็นกระดาษที่มีใช้กันอย่างยาวนานในราชสำนักจีน ปัญญาชนและศิลปินจีนรุ่นหลังถือว่า กระดาษชนิดนี้เป็นผลงานล้ำค่าสำหรับงานศิลปะ แต่ถ้ามีคุณภาพต่ำกว่านี้จะเรียกว่า “วี่สุยจื่อ” ต่ำลงมาอีกเรียก “หลึ่งจินจื่อ”

อันที่จริงมณฑลอันฮุยเป็นแหล่งสำคัญของการทำกระดาษอยู่ก่อนแล้ว ตั้งแต่ยังมีฐานะเป็นเขตการปกครองชั้น “โจว” ในสมัยราชวงศ์เป่ยซ่ง กระดาษจากเขตนี้ก็เป็นที่ชื่นชอบกันมากในหมู่ปัญญาชน กวี และศิลปินนักเขียนนักเขียนภาพอักษร หรือที่เมืองจีนเรียกว่า “ซูฝ่าเจีย” เรียกได้ว่าตั้งแต่สามัญชน ขุนนาง ไปจนถึงพระเจ้าแผ่นดิน

พระเจ้าหลี่วี่กษัตริย์ผู้เป็นทั้งกวีและศิลปินแห่งราชวงศ์หนานถัง ชื่นชอบกระดาษชนิดนี้จนถึงกับรับสั่งให้สร้างหอสำหรับเก็บกระดาษชนิดนี้ เรียกว่า หอเฉิงซิน และกลายเป็นทีมาของชื่อกระดาษชนิดนี้ ใน “จดหมายเหตุเมืองฮุยโจว” บันทึกว่า “ที่อำเภออีและอำเภอเส้อมีการทำกระดาษดีๆ มากมาย ที่ขึ้นชื่อมีหนิงซวงและเฉิงซิน ชนิดหลังนี้ แผ่นหนึ่งยาว 50 เชียะ บางเสมอเท่ากันตั้งแต่ต้นจรดปลาย”

กวี ศิลปิน ปัญญาชน และขุนขนางจีนที่ชื่นชอบกระดาษชนิดนี้อาทิเช่น ซูตงปอ (หรือซูซื่อ) กวีและศิลปินนักเขียนสมัยซ่ง สนิทสนมกับพานกู่ช่างทำหมึก จานหมึก และกระดาษชนิดนี้มาก จนซูตงปอถึงกับบอกว่า “ทั้งสองเหมือนทำบุญร่วมน้ำหมึกกันมา”

เหมยหยาวเฉิน กวีสมัยเป่ยซ่ง ซึ่งเป็นชาวอันฮุยแท้ๆ ได้เขียนบทกลอนชมว่า

“กระดาษเฉินซินจากซินอัน
ลื่นกว่าจันทร์น้ำแข็งสัมผัสรู้
ช่างกระดาษพานโหวนั้นยอดครู
เขายังรู้จานหมึกลายหางมังกร”

เมื่อคราวที่ต่งฉีชางจิตรกรจีนสมัยหมิง ได้กระดาษชนิดนี้มา เค้าถึงกับพูดด้วยความรู้สึกจากใจว่า “ไม่กล้าเขียนอะไรลงไปบนกระดาษนี้”

ภาพเขียน “ม้าห้าตัว” ของหลี่กงหลิน จิตรกรชื่อดังสมัยซ่ง ภาพศิลปะลายมือ “ฉุนฮั่วเก๋อเทีย” ที่ระบายมาจากลายมือ สลักบนศิลาในสมัยซ่งเมื่อ พ.ศ.1543 ซึ่งเป็นภาพระบายลายมือเขียนราว 420 ภาพ ศิลปินนักเขียนที่ส่วนมากเป็นขุนนางผู้ใหญ่ตามรับสั่งของพระเจ้าไท่จง ก็ใช้กระดาษเฉิงซินจื่อนี้

นักประวัติศาสตร์ชื่อดัง “โอวหยางซิว” ก็ใช้กระดาษชนิดนี้ บันทึกหนังสือประวัติศาสตร์ (ฉบับยกร่าง) ไว้สองเล่ม คือ “ซินถังซู” (จดหมายเหตุราชวงศ์ถังใหม่) และ “ซินอู่ไต้สื่อ” (ประวัติศาสตร์ห้าราชวงศ์ใหม่)

กระดาษเฉิงซินจื่อ จะได้รับคำชมมากมาย ทั้งในแง่ของเทคนิคการทำเช่นที่บันทึกในเอกสารประวัติศาสตร์ว่า “ขาวดุจหยก เรียบเงาแต่ไม่ลื่น เบาดุจเส้นผม ม้วนเก็บไว้ไม่ยับ” หรือในแง่ศิลปะ เช่น “เนื้อบางดุจเยื่ยไข่ แข็งแรงบริสุทธิ์ดุจหยก เนียนบางเป็นมันเงา เหนือกว่ากระดาษชนิดใดๆ ในสมัยนั้น”

ดังนั้น จึงไม่แปลกที่กระดาษชนิดนี้จะถือเป็นเครื่องบรรณาการที่ล้ำค่ามาตลอด และแม้ว่าราชวงศ์หนานถังของพระเจ้าหลี่วี่จะล่มสลายไป แต่กระดาษชนิดนี้กลับไม่ล้มหายตายจากตามไปด้วย

กระดาษ “สู่เจียน” มีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ว่ากันว่าเป็นกระดาษที่ทำด้วยกรรมวิธีโบราณอย่างที่ไช่หลุนเคยทำ และทำกันในแคว้นซีสู่ หรือเสฉวนในปัจจุบัน จึงได้ชื่อตามสถานที่ให้กำเนิด ตัวอย่างของกระดาษชนิดนี้ได้แก่กระดาษ “เซียเทาเจียน” ซึ่งเป็นกระดาษที่รู้จักกันดีตั้งแต่ปลายสมัยราชวงศ์ถัง และยุคห้าราชวงศ์ คนที่ทำกระดาษชนิดนี้ชื่อ เซียเทาชาวเมืองฉางอันสมัยราชวงศ์ถัง เมื่อบิดาต้องย้ายไปรับราชการที่เสฉวน เธอก็ย้ายตามบิดาไปด้วย หลังจากบิดาเสียชีวิตไปแล้วชีวิตของเธอก็ตกต่ำลง จนต้องกลายเป็นนางขับขายเสียงเพลง และเนื่องจากเธอชอบเรื่องกาพย์กลอนโคลงกวี และรู่สึกว่ากระดาษในสมัยนั้นมีขนาดใหญ่เกินไป เธอจึงแนะนำให้ช่างทำกระดาษให้มีขนาดเล็กลง เล่ากันว่าเซียเทาเคยโรยกลีบดอกไม่ไว้บนกระดาษ ทำให้เกิดเป็นลายแต้มบนกระดาษอันเป็นที่มาของการย้อมสี แต่สีที่ย้อมมักหลุดลอกง่ายไม่ทนทาน จึงเหมาะสำหรับใช้เขียนอะไรเล่นๆ เท่านั้น

กระดาษอีกชนิดหนึ่งคือ “เซี่ยกงเจียน” เป็นกระดาษย้อมสีเหมือนกัน คนทำชื่อ เซี่ยจิ่งชู มีชีวิตอยู่ในช่วงปี พ.ศ.1562-1637 ซึ่งตรงกับช่วงสมัยราชวงศ์ซ่ง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากกระดาษที่เซียเทาทำ จึงได้ออกแบบทำขึ้นมาทั้งหมด 10 สี เพื่อใช้เขียนจดหมายโดยเฉพาะ กระดาษชนิดนี้มีสีสันสดใสสวยงาม และมีชื่อเสียพอๆ กับกระดาษเซียเทา

กระดาษ “จ้างจิงจื่อ” หรือ “จินสู้เจียน” พระเจ้าไท่จู่แห่งราชวงศ์ซ่งส่งเสริมพระพุทธศาสนา จึงเกิดความต้องการกระดาษที่จะใช้พิมพ์พระคัมภีร์มากขึ้น เพื่อสนองความต้องการนี้เวลานั้นที่เมืองเส้อโจวในเมืองเส้อโจว มณฑลอันฮุยมีการทำกระดาษแข็งสีเหลือง มีลายเส้นแต้มสีจางบ้างเข้มบ้าง สำหรับพิมพ์พระคัมภีร์ เรียกว่า ล่าหวงจิงจื่อ หรือจินสู้เจียน ชื่อหลังนี้ได้มาจากชื่อวัดจินสู้ ซึ่งตั้งอยู่เชิงเขาจิงสู้ในเมืองไห่เหยียน มณฑลเจ้อเจียง เนื่องจากทางวัดได้สั่งซื้อกระดาษชนิดนี้ป็นจำนวนมากเพื่อใช้คัดลอกพระ คัมภีร์ คุณสมบัติของกระดาษชนิดนี้คือ แข็ง เงาวาวกึ่งโปร่งใส กันน้ำกันมอดได้ดี มี 2 สี คือสีเหลืองกับสีขาว อายุการใช้งานยาวนาน แม้จะผ่านไปนับพันปี กระดาษก็ยังดูเหมือนใหม่

นอกจากนี้ คนในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงยังมักใช้กระดาษที่เรียกว่า หนีจินเจียนและล่าเจียน ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นนัก กระดาษชนิดหนึ่งที่ใช้กันอยู่ใยปัจจุบันทำจากญี่ปุ่นชื่อ “โทริชิ” ซึ่งมีราคาแพงมาก และไม่ทนทาน จึงไม่มีประโยชน์ใช้สอยจริง

กระดาษที่ซึมซับน้ำหมึกได้ดี
กระดาษชนิดนี้ส่วนมากทำจากเส้นใยเนื้อไม้ ผิวกระดาษหยาบฝืด ไม่มันเงาเหมือนเช่นกระดาษ “เจียนจื่อ” น้ำหมึกจะซึมแผ่ออกอย่างง่ายดายทันทีที่แตะถูกกระดาษ ถ้าจะใช้เขียนหนังสือต้องผสมกาวหรือลงไขก่อน กระดาษชนิดนี้แม้จะมีมาทีหลัง แต่ก็มีบทบาทอย่างสำคัญในงานศิลปะจีนต่างๆ จนกลายเป็นกระดาษที่มีชื่อเสียงและทรงคุณค่าที่สุดไปแล้ว

กระดาษชนิดนี้ได้แก่กระดาษ “ซวนจื่อ” ทำกันมาตั้งแต่ก่อนสมัยราชวงศ์ถังในเมืองซวนโจว เป็นกระดาษที่มีเนื้อนุ่มเหนียว ลายสวย ขาวสะอาดและเนียนละเอียด พับไม่เป็นรอยยับ เหมาะสำหรับใช้งานเขียนภาพ เพราะน้ำหมึกที่วาดลงไปจะไล่ระดับความเข้มจางชัดเจน ด้วยกระดาษมีคุณสมบัติดูดซึมน้ำและกระจายน้ำหมึกได้ดี เวลาลงหมึกหรือสีจึงแสดงความเข้มจางของภาพได้ชัดเจน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *