ราชสำนักจิ้น

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 24-220) ตอนปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันตก หวังหม่าง ถอดถอนหยูจื่ออิง ยุวกษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เพื่อตั้งตนเป็นใหญ่ โดยจัดระเบียบการปกครองใหม่และก่อตั้งราชวงศ์ซินขึ้น แต่ความล้มเหลวของระเบียบใหม่ได้สร้างกระแสต่อต้านจากประชาชน เกิดเป็นกบฏชาวนาในพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ กองกำลังคิ้วแดง ที่นำโดยฝานฉง จากแถบซานตง และกองกำลังลี่ว์หลิน ซึ่งนำโดยหลิวซิ่ว จากหูเป่ย เป็นต้นโดยในบรรดากองกำลังเหล่านี้ ถือว่ากองทัพของหลิวซิ่วมีกำลังกล้าแข็งที่สุด

ต่อมาหลิวซิ่วได้ทำการประหารหวังหม่าง เมื่อถึงกลางปีคริสตศักราช 25 หลิวซิ่วก็ตั้งตัวขึ้นเป็นฮ่องเต้ครองดินแดนเหอเป่ย ภายใต้สมญานามว่า กวงอู่ตี้ และใช้ชื่อราชวงศ์ฮั่นตามเดิม โดยทางประวัติศาสตร์ได้แบ่งยุคนี้เป็นฮั่นตะวันออก เนื่องจากนครหลวงตั้งอยู่ที่เมืองลั่วหยาง

ภารกิจแรกของพระเจ้ากวงอู่ตี้คือการปราบกองกำลังคิ้วแดงที่กำลังปิดล้อม เมืองฉางอัน เมื่อถึงปีรัชสมัยที่ 12 ก็สามารถปราบก๊กของกงซุนซู่ในเสฉวนลงอย่างราบคาบ รวมประเทศจีนกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง ในสมัยของจักรพรรดิกวงอู่ตี้ พระองค์ทรงหวงใยในชีวิตของประชาชน ทรงมีพระดำรัสหลายครั้งให้ประกาศปลดปล่อยแรงงานทาสชายหญิงให้เป็นอิสระ ซึ่งถือเป็นการปลดปล่อยแรงงานการผลิตครั้งใหญ่ และออกกฎหมายห้ามทรมานทาสด้วย ทรงดำเนินนโยบายลดภาษี อุปการะคนยากจน นอกจากนี้ ยังซ่อมสร้างการชลประทานทั่วประเทศ รื้อฟื้นภาคการเกษตรให้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง ทรงโปรดให้มีการลดจำนวนอำเภอลงกว่า 400 อำเภอ มีการปฏิรูปราชการให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น หลังจากที่พระเจ้ากวงอู่ตี้สามารถรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปรึกแผ่นได้แล้ว ก็ไม่มีการทำสงครามกับประเทศใดอีก พระองค์ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม ให้ความสำคัญกับการศึกษา ส่งเสริมการก่อตั้งโรงเรียน ทรงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาวัฒนธรรมของฮั่นตะวันออก

เมื่อถึงรัชสมัยหมิงตี้ ก็ยกเลิกการผูกขาดการค้าเกลือและเหล็กกล้า อีกทั้งธุรกิจอื่น ๆ อาทิ ธุรกิจหลอมและหล่อทองแดง ธุรกิจผ้าไหมเป็นต้น ทำให้บ้านเมืองและการค้าขายในยุคฮั่นตะวันออกเจริญรุ่งเรืองขึ้น เมืองลั่วหยางกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าของประเทศ ส่วนศูนย์กลางทางภาคใต้ ได้แก่ เมืองหยางโจว จิงโจว อี้โจว ก็มีความเจริญในด้านธุรกิจหัตถกรรม จำนวนประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ต่อมาในรัชสมัยจางตี้ และเหอตี้ ถึงกับมีการเดินทางออกไปติดต่อเชื่อมสัมพันธไมตรียังดินแดนฝั่งตะวันตก เพื่อสานต่อแนวการค้าบนเส้นทางสายไหม ขณะเดียวกัน บรรดาเจ้าที่ดินทั้งฝ่ายบุ๋นและฝ่ายบู๊ต่างก็อยู่ในช่วงสั่งสมกำลังบารมี ภายหลังรัชสมัยเหอตี้ บรรดาเชื้อพระวงศ์และเหล่าขุนนางชั้นสูงต่างก็มีอำนาจที่เข้มแข็งมากขึ้น มักปรากฏว่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางผลัดกันหรือร่วมมือกันเข้ากุมอำนาจใน ระหว่างการผลัดแผ่นดินอยู่บ่อยครั้ง ในสี่รัชสมัยต่อมาอันได้แก่ ซุ่นตี้ ช่งตี้ จื้อตี้และเหิงตี้ กษัตริย์ทั้ง 4 มีเชื้อพระวงศ์เหลียงจี้ คอยเป็นที่ปรึกษาว่าราชการให้ถึง 20 ปี สั่งสมเงินทองทรัพย์สินกว่า 3,000 ล้าน

วัฒนธรรมของราชวงศ์ฮั่น สำหรับความเจริญก้าวหน้าในด้านวัฒนธรรมและวิทยาการในสมัยฮั่นตะวันออกนั้นมี มากมาย อาทิ ในยุคต้นของราชวงศ์ ก่อเกิดนักคิดแนววัตถุนิยมที่โดดเด่นคือหวังชง ส่วนการศึกษาทางประวัติศาสตร์ก็มีการจดบันทึกประวัติศาสตร์ชนชาติฮั่น ทางด้านวรรณคดีที่เป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยได้แก่บทความเชิงปกิณกะและเพลงพื้น บ้านต่าง ๆ ในช่วงปลายราชวงศ์ยังก่อเกิด สัตตกวีแห่งยุค ได้แก่ข่งหยง เฉินหลิน หวังชั่น สวีกั้น หยวนอวี่อิงหยังและ หลิวเจิน ซึ่งมีผลงานที่โดดเด่นส่งอิทธิพลถึงยุคสามก๊กในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมี คณิตศาสตร์ 9 บท เป็นหนังสือคณิตศาสตร์ที่ได้รวบรวมผลงานของนักคณิตศาสตร์หลายคนตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก หนังสือได้แบ่งเป็น 9 บท รวบรวมเอาโจทย์คำถามทางคณิตศาสตร์ไว้ทั้งสิ้น 246 คำถาม บันทึกหลักวิธีการคำนวณเศษส่วนและสมการไว้ในหนังสือ นอกจากนี้ยังมีวิธีการคำนวณหาพื้นที่ หาปริมาตร และการวัดด้วยสูตรตรีโกณมิติ หนังสือเล่มนี้มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาทางด้านคณิตศาสตร์ของจีนในสมัย โบราณ และยังได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นๆ อีกมากมาย

ในเรื่องการเทคโนโยยีการแพทย์ได้รับการพัฒนามาจากสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เช่นกาวินิจฉัยโรคด้วยการจับชีพจร การรักษาโรคด้วยวิธีการฝังเข็ม ก็ได้รับการพัฒนามาถึงระดับที่ค่อนข้างสมบูรณ์

ในช่วงกลางของฮั่นตะวันออก ยังมีนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงอย่าง จางเหิง ซึ่งนับเป็นเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกทางด้าน ดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์ โดยเขาได้คิดประดิษฐ์เครื่องวัดตำแหน่งดวงดาวและเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่ สามารถใช้ในทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย ในรัชสมัยเหอตี้ ก็ยังมีไช่หลุน ผู้ซึ่งได้ปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตกระดาษจากพืช ซึ่งทำให้ราคากระดาษถูกลง และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย อันเป็นการสร้างคุณูปการต่อชาวโลกครั้งยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ องค์ความรู้ต่าง ๆในด้านการเกษตร และอื่นๆ ต่างก็ประสบความก้าวหน้าใหญ่ ศาสนาพุทธและเต๋าที่ทรงอิทธิพลล้ำลึกทางความคิด วัฒนธรรมและวิถีชีวิตในสังคมจีน ก็ล้วนเจริญรุ่งเรืองขึ้นในยุคนี้เอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *