ตั๋งโต๊ะยึดเมืองหลวง

กลยุทธ์สยบมหาอำนาจ (24)

ตั๋งโต๊ะยึดเมืองหลวง
ตั๋งโต๊ะยึดเมืองหลวง

กลยุทธ์สยบมหาอำนาจ (24) : เมื่อตั๋งโต๊ะใช้สุดยอดกลยุทธ ในตำรา 36 กลุทธ์กล่าวไว้ในบทที่ 36 ว่า “หนีคือยอดกลยุทธ์” กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อรบกับข้าศึก หากข้าศึกแข็งเราอ่อน อาจจะถอยร่นอย่างรวดเร็ว เพื่อหลบเลี่ยงการปะทะเสียก่อน ดังที่มีคำกล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” ว่า “ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม” ซึ่งชี้ชัดว่า การถอยหนี่ในการทำสงครามนั้น มิใช้ความผิดพลาด หากแต่เป็นเรืองธรรมดาเสียสามัญในการบที่มักจะพบเห็นเสมอ

การถอนเช่นนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายในยามที่เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเพื่อชิงโอกาสตอบโต้ภายหลังมิใช่ถอยหนีอย่างพ่ายแพ้หมดรูป ตีโต้กลับมิได้อีก ในตำราพิชั้ยสงครามชือ “ไหวหนานจื่อ ฝึกการยุทธทหาร” เคยกล่าวไว้ว่า “แข็งจึงสู้ อ่อนก็หนี” ในตำราพิชัยสงครามอีกเล่มหนึ่งชื่อ “ปิงฝ่าหยวนจีได้” ก็กล่าวไว้ว่า “แม้นหลบแล้วรักษาไว้ได้ ก็พึงหลบ” ใน “ซุนจื่อ บทกลยุทธ์” ก็กล่าวไว้เช่นกันว่า “แข็งพึงเลี่ยงเสีย”

กองทัพ18หัวเมือง
กองทัพ18หัวเมือง

ในสมัยสามก๊กช่วงที่บ้านเมืองวุ่นวายเพราะตั๋งโต๊ะครองเมืองหลวง เกิดเหตุการณ์กองทัพ 18 หัวเมืองมารบกับตั๋งโต๊ะ จนตั๋งโต๊ะพลาดท่าเสียที ที่ด่านกิสุยก๋วน และ ด่านเฮาโลก๋วน ลิยูที่ปรึกษาตั๋งโต๊ะเห็นว่าสถานการณ์กำลังคับขัน

ลิยูจึงเสนอให้ย้ายเมืองหลวงไปยังนครเตียงอันเพื่อจะได้ไปตั้งหลักใหม่พร้อม กับเมืองเตียงอันใกล้กับเมืองเสเหลียงขุมกำลังเดิมของตั๋งโต๊ะ จึงง่ายต่อการเกณฑ์ทหารมาช่วยรบได้ง่าย พร้อมกับกวาดต้อนราษฎรในเมืองลกเอี๋ยง สังหารพ่อค้าที่ร่ำรวยเพื่อชิงสมบัติ ขุดสุสานพระศพฮ่องเต้ฮั่นองค์ก่อนเพื่อเอาทรัพย์สินมีค่า ปล้นฆ่าราษฎรที่ขัดขวางตลอดทาง พร้อมกับเผาเมืองลกเอี๋ยงเพื่อไม่ให้เป็นฐานกำลังแก่กองทัพสิบแปดหัวเมือง ราษฎรเดือดร้อนถึงที่สุด

เผาเมืองลกเอี๋ยง
เผาเมืองลกเอี๋ยง

โดยระหว่างถอยทัพนั้น ลิยูได้สั่งให้ลิโป้ตั้งกำลังดักซุ่มไว้กลางทาง เผื่อกองทัพ 18 หัวเมืองจะยกทัพตามมาตี ผลปรากฏว่าเป็นจริงดังคำที่ลิยูว่าไว้ เมื่อโจโฉทราบว่าตั๊งโต๊ะย้ายเมืองหลวงจึงยกกองทัพไล่ตาม แต่พลาดถูกกองทัพลิโป้ที่ซุ่มอยู่กลางทางบุกเข้าโจมตี ทำให้กองทัพโจโฉแตกพ่าย เสียทหารเป็นอันมาก และไม่มีกองทัพ 18 หัวเมืองกองใดยกทัพตามตีอีก ทำให้ ตั๋งโต๊ะสามารถถอนทัพไปได้อย่างปลอดภัย

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ภายใต้สภาพการณ์ที่ไม่เป็นผลดี จะต้องหลีกเลี่ยงกับการสู้รบขั้นแตกหักกับข้าศึก ทางออกจึงมีอยู่ 3 ทาง ยอมจำนน เจตจาสงบศึก ถอยหนี เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การยอมจำนนคือการพ่ายแพ้อย่างถึงที่สุด การขอเจรจาสงบศึกคือการพ่ายแพ้ครึ่งหนึ่ง ถอยหนีกลับอาจจะแปรเปลี่ยนมาเป็นชัยชนะได้ ดั้งนั้นจึงได้เรียกชื่อกลยุทธ์นี้เป็น “หนีคือยอดกลยุทธ์” ถอยหนีพึงถอยเลี่ยงอย่างมีแผนเป็นฝ่ายกระทำ ซึ่งมีเนื้อหาที่เป็นคุณ มิใช้แต่หนีอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อทัพอ่อนเผชิญทัพแข็ง มักจะใช้วิธีหนี เพื่อกระจายกำลังข้าศึก เพื่อสร้างโอกาสกลับมาสู่ชัยชนะนั้นเอง”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *