เจิ้งเหอและกองเรือ

เจิ้งเหอ กับการเดินทางรอบโลก

เจิ้งเหอและกองเรือ
เจิ้งเหอและกองเรือ

เจิ้งเหอ กับการเดินทางรอบโลก เจิ้งเหอ เดิมทีนั้นเจิ้งเหอมีชื่อว่า “ซานเป่า แซ่หม่า” เกิดที่มณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นเขตแดนของมองโกล ทางตอนใต้ของประเทศจีน เมื่อปี ค.ศ.1371 มีชื่อมุสลิมเป็นภาษาอาหรับว่า มูฮัมมัด อับดุลญับบารฺ เกิดในตระกูลขุนนางมุสลิม เซมูร์ และเป็นลูกหลานชนชั้นที่หกของ ซัยยิด อัจญาล ชัมสุดดีน อุมัร ผู้ปกครองมณฑลยูนนานผู้ลือนาม จากบุคอรอ ในอุซเบกิสถาน แซ่หม่า มาจาก มาสูฮฺ (มาสีหฺ) บุครคนที่ 5 ของ ซัยยิด อัจญาล ชัมสุดดีน อุมัร บิดาของเจิ้งเหอมีนามว่า มีร ตะกีน และปู่มีนามว่า กะรอมุดดีน ได้ไปทำพิธีฮัจญ์ในมักกะหฺ จึงได้พบเห็นผู้คนจากทุกสารทิศ และต้องเล่าเรื่องนี้ให้แก่เจิ้งเหออย่างแน่นอน

แต่ก่อนแซ่หม่า เรียกว่า หม่าเหอ (คงเพี้ยนมาจาก มาสูฮฺ) เจิ้งเหอมีพี่น้อง 5 คนเป็นชาย 1 คน หญิง 4 คน เมื่อหม่าเหออายุได้ 12 ปี ตรงกับช่วงที่กองทัพของ จักรพรรดิหงอู่ หรือจูหยวนจาง ปฐมราชวงศ์หมิงนำกำลังทัพ เข้ามาขับไล่พวกมองโกล ที่มาตั้งราชวงศ์หยวน ออกจากประเทศจีน ทำการยึดครองยูนานเป็นส่วนหนึ่ง ของราชอาณาจักรหมิงได้สำเร็จ ในเวลานั้นหม่าเหอ ได้ถูกจับตอนเป็นขันท ีมีหน้าที่รับใช้เจ้าชายจูตี้ จนได้รับความไว้วางใจอย่างสูง ช่วงสงครามแย่งชิงบัลลังก ์ระหว่างเอี้ยนหวังจูตี้กับหมิงฮุ่ยตี้ กษัตริย์ที่สืบราชบัลลังก์ต่อจากหมิงไท่จู่ เจิ้งเหอมีส่วนสำคัญช่วยให้ จูตี้ได้รับชัยชนะขึ้นสู่บัลลังก์เป็นจักรพรรดิหมิงเฉิงจู่ มีชื่อรัชกาลว่า “หย่งเล่อ” และได้รับการสนับสนุน เป็นหัวหน้าขันที ต่อมาได้รับพระราชทานแซ่เจิ้ง จึงเรียกขานว่า “เจิ้งเหอ” แต่ชื่อที่รักจักกันดีก็คือ ซันเป่ากง หรือ ซำปอกง

การเดินเรือสำรวจทางทะเลในระยะเวลา 28 ปี กองเรือของเจิ้งเหอออกสำรวจทางทะเลรวม 7 ครั้ง เดินทางมากกว่า 50,000 กิโลเมตร ท่องต่างแดนมากกว่า 37 ประเทศ เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในเดือนกรกฏาคม ค.ศ.1405 (พ.ศ.1948) ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช แห่งราชวงศ์อู่ทองปกครองกรุงศรีอยุธยา เจิ้งเหอทำหน้าที่ผู้บังคับกองเรือสำเภาขนาดใหญ่ เรียกว่า “เป่าฉวน” แปลว่า “เรือมหาสมบัติ” ต่อขึ้นที่เมืองนานกิง อดีตเมืองหลวงอันเก่าแก่ของจีนเป็นอีกสถานที่หนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งของ “อู่ต่อเรือ” ใช้ในการเดินเรือของเจิ้งเหอ เรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอยาว 400 ฟุต ขนาดใหญ่กว่าเรือซานตา มาเรีย ของโคลัมบัสที่ยาวเพียง 85 ฟุต ถึง 5 เท่า

การเดินทะเลในครั้งแรกมีเรือขนาดใหญ่ตามไปด้วย 60 ลำ ขนาดเล็ก 255 ลำ มีลูกเรือทั้งหมด 27,870 คน แล่นเลียบชายฝั่งฟุเกี้ยน ผ่านไปยังอาณาจักรจามปา ชวา มะละกา เซมูเดรา และแลมบรีทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นเดินทางต่อไปยังเกาะลังกา กาลกัติ ขากลับได้นำคณะทูตจากเมืองเหล่านี้มาเข้าเฝ้าฯจักรพรรดิหย่งเล่อ

ในการเดินเรือแต่ละครั้ง ขากลับจะนำเครื่องบรรณาการจากเมืองต่าง ๆ มาถวายจักรพรรดิหย่งเล่อ โดยเฉพาะสัตว์จากหลาย ๆ เมืองที่ผ่าน อย่างเช่นขากลับจากการเดินเรือทางทะเลในครั้งที่ 5 เจิ้งเหอได้นำสิงห์โต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ (โดยบอกว่าเป็น กิเลน) กลับไปถวายแด่จักรพรรดิหย่งเล่อ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบมาก และกลายเป็นของแปลกและน่าตื่นเต้นสำหรับชาวจีนที่พบเห็นเป็นครั้งแรก

ต้นปีถัดมาเจิ้งเหอก็เริ่มออกเดินทางในครั้งที่ 2 เวลานั้นอายุ 36 ปี “ครั้งที่ 3 อายุ 38 ปี ครั้งที่ 4 อายุ 42 ปี ครั้งที่ 5 อายุ 46 ปี ครั้งที่ 6 อายุ 50 ปี ครั้งที่ 7 อายุ 60 ปี โดยครั้งสุดท้ายมีจำนวนลูกเรือ 27,550 คน ไปไกลถึงแอฟริกา

ภายหลังการเดินเรือทางทะเลในครั้งที่ 7 สิ้นสุดลง จากนั้นจีนก็หยุดดำเนินการสำรวจทางทะเล ส่วนเจิ้งเหอได้สิ้นชีวิตลงในปีค.ศ 1432 ที่อินเดีย แต่มีการสร้างหลุมฝังศพจำลองของเขาอยู่บนภูเขาในเมืองนานกิง ไม่มีศพอยู่ในนั้น มีเพียงเส้นผมและเสื้อผ้าที่เคยใช้เท่านั้น ก่อสร้างตามแบบประเพณีมุสลิม เรียกว่า เจิ้งเหอมู่ หรือ สุสานเจิ้งเหอ ซึ่งได้รับการบูรณะใหม่ในปี 1985

ในเมืองไทย เจิ้งเหอเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เจ้าพ่อซำปอกง (ซานเป่ากง). วัดซำปอกง หรือชื่อทางการ วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สาเหตุที่ชาวจีนมาเซ่นไหว้วิญญาณซำปอกงที่วัดกัลยาณมิตรเป็นเพราะความเข้าใจ ผิด กล่าวคือ ชาวจีนผู้นับถือพุทธศาสนากลุ่มหนึ่งได้นมัสการหลวงพ่อโตที่วัดกัลยาณมิตร แล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เขียนหนังสือจีนไว้ที่หน้าวิหารว่า ‘ซำปอฮุดกง’ ซึ่งแปลว่าพระเจ้า 3 พระองค์ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ชาวจีนกลุ่มที่นับถือซำปอกง อ่านเห็นเป็น ‘ซำปอกง’ จึงคิดว่าเป็นสถานที่เซ่นไหว้วิญญาณของซำปอกง และได้มาเซ่นไหว้ซำปอกงเรื่อยมา

กองเรือเจิ้งเหอ ประกอบไปด้วยเรือจำนวนกว่า 200 ลำ ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน
ได้แก่ เรือมหาสมบัติ เป็นเรือขนาดใหญ่ เรือบรรทุกม้า เรือรบ เรือกำลังพล เรือเสบียง เรือ
บรรทุกน้ำ เป็นต้น จัดรูปตามแบบกองเรือรบในสมัยนั้น พร้อมกับลูกเรือ ประมาณ30,000คน มีเรือที่ใหญ่ที่สุดเพียง 4ลำ โดยมีขันทีผู้ใหญ่คุมเรือแต่ละลำ ประกอบด้วยบุคคลที่ทำหน้าที่ด้านต่างๆ ทั้งขุนนาง ทหาร นักการทูต นักบวช (ในศาสนาพุทธ
และอิสลาม) พ่อค้า ช่างฝีมือ แพทย์ ล่าม เป็นต้น

การเดินทางออกสำรวจโลกของกองเรือที่นำโดยเจิ้งเหอเกิดขึ้นทั้งหมด 7 ครั้ง ในระหว่างปี ค.ศ.1405 – 1433 โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก ระหว่างปี ค.ศ.1405 – 1411 จำนวน 3 ครั้ง

เส้นทางการเดินเรือจำกัดอยู่ในแถบภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และเอเชียใต้ จุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีกับอาณาจักรในดินแดนแถบนี้ ได้แก่

– จัมปา (เวียดนาม)
– อยุธยา (สยาม)
– มะละกา (มาเลเซีย)
– บอร์เนียว
– ชวา
– สุมาตรา (อินโดนีเซีย)
– ลังกา (ศรีลังกา) และเมืองชาย ฝั่งตะวันตกของอินเดีย

มีบันทึกไว้ว่ากองเรือของเจิ้งเหอได้เคยเดินทางมาสยาม เพื่อเจรจาให้สยามสงบศึกกับประเทศเพื่อนบ้าน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *