การเดินทัพ

บทที่ 9 การเดินทัพ

การเดินทัพ
การเดินทัพ

บทที่ 9 การเดินทัพ อันการบัญชาทัพวินิจฉัยข้าศึกนั้น ข้ามภูพึงอิงหุบห้วยตั้งทัพที่สูงโล่งแจ้ง อยู่สูงอย่างไต่ขึ้นตี นี้คือการบัญชาทัพในเขตเขา
ข้ามน้ำพึงรีบผละห่าง ข้าศึกข้ามน้ำเข้าตี อย่างออกปะทะกลางน้ำ ให้ขึ้นฝั่งกึ่งหนึ่งจึงตี จักได้ เมื่อประสงค์จะรบ อย่ารับศึกใกล้น้ำ ตั้งแนวที่สูงโล่งแจ้ง อย่าตั้งค่ายใต้น้ำ นี้คือการบัญชาทัพในเขตน้ำ ข้ามที่ลุ่มโคลนตม พึงเร่งจากไปอย่าช้า แม้นต้องรบในที่ลุ่มโคลนตม พึงยึดแหล่งน้ำมีหญ้าหลังอิงแมกไม้ นี้คือการบัญชาการทัพในที่ลุ่มโคลนตม ตั้งทัพที่ราบพึงอยู่ที่โล่ง หลังอิงที่สูง ให้หน้าต่ำหลักสูง นี้คือการบัญชาทัพในที่ราบ

ผลการบัญชาทัพสี่ลักษณะนี้ คือเหตุซึ่งจักรพรรดิหวงตี้ได้ชัยแก่สี่กษัตริย์

อันการตั้งทัพมักชอบที่สูงชังที่ต่ำ รักที่แจ้งเกลียดที่ทึบ มีเสบียงสมบูรณ์ชัยภูมิมั่งคง ไพร่พลจักปราศจากโรคภัย นี้คือเหตุ พึงชนะตั้งทัพแถบเนินเขาทำนบน้ำ พึงหันหน้าหาที่แจ้งเอาหลังพิง ซึ่งการศึกได้ประโยชน์ ก็เพราะภูมิประเทศช่วย ฝนตกต้นน้ำ ฟองน้ำลอยมา ผู้จักลุยข้าม พึงรอน้ำนิ่ง พื้นที่ซึ่งเป็นห้วยเหว เป็นก้นกระทะ เป็นขุนเขาโอบ เป็นป่ารกชัฏ เป็นปลักโคลนตม เป็นหุบผาขาด ให้รีบหลีกเร้น อย่าได้กล่ำกราย เราพึงห่างออก ข้าศึกชิด เราหันหน้าหา ให้ข้าศึกพิง เดินทัพพื้นที่คับขัน เป็นบึงอ้อกอแขม เป็นป่าเขาซับซ้อน พึงตรวจค้นหาซ้ำซากถี่ถ้วน นี้เป็นแหล่งซุ่มตีสอดแนม

ข้าศึกใกล้เเต่เงียบ เพราะได้ชัยภูมิ อยู่ไกลแต่ท้ารบ เราะล่อให้ประชิด ตั้งทัพในที่ราบ เพราะได้เปรียบเรา แมกไม้สั่นไหว เพราะบุกเข้ามา กอหญ้าขวางรก เพราะให้ฉงน ฝูงนกบินว่อนเพระดักซุ่มตี ส่ำสัตว์แตกตื่น เพราะเคลื่อนทัพใหญ่ ฝุ่นคลุ้งปลายเรียว เราะรถรบเคลื่อน ฝุ่นต่ำแผ่กว้าง เพราะพลเท้ารุก ฝุ่นเป็นเส้นตรง เพราะตัดไม้ฟืน ฝุ่นบางกระจาย เพราะเตรียมตั้งค่าย

วาจานอบน้อยแต่เตรียมพร้อมคึกคัก เพราะมีแผนบุก วาจาแข้งกร้าวทำประชิดติดพัน เพราะเตรียมจะถอย รถรบนำหน้าแยกเป็นปีกกา เพราะเตรียมสู้รบ ขอเจรจาสันติโดยมิได้นัดหายเพราะมีอุบาย พลเท้าแปรขบวนรถรบรายเรียง เพราะใคร่จะรบกึ่งรุกกึ่งถอย เพราะมุ่งล่อลวง ยืนอาวุธยันกาย เพราะความหิวโหย ตักน้ำแย่งดื่ม เพราะความกระหาย ได้เปรียบไม่รุก เพราะความเหนื่อยอ่อน นกจับเป็นฝูงเพราะค่ายว่างเปล่า ร้อยผวายามค่ำ เพราะความหวาดกลัว วุ่นวายในค่าย เพราะแม่ทัพไม่เข้ม ธงทิวโอนเอน เพราะความปั่นป่วน นายทัพฉุนเฉียว เพราะความอิดโรย เอาเสบียงเลี้ยงฆ่าม้ากินเนื้อ ไพร่พลทิ้งเครื่องครั้งไม่ยอมกลับค่ายพัก เพราะความจนตรอก ไพร่พลจับกลุ่มสุมหัว ซุบซิบนินทา เพราะขาดศรัทธาแม่ทัพ ตกรางวัลบ่อยครั้ง เพราะหมดปัญญา ลงโทษบ่อยครั้ง เพราะข้าตาจน แม่ทัพเหี้ยมเกรียมแต่กลับกลัวไพร่พลภายหลัง เพราะความโฉดเขลา ส่งทูตมาคำนับ เพราะใคร่สงบศึก ข้าศึกบุกอย่างขุ่นเคือง แต่กลับรั้งรอไม่รบ ทั้งไม่ถอนตัวกลับ พึงคอยสังเกตอย่างระมัดระวัง

การศึกใช้ไพร่พลมากจะดี สำคัญอย่าสุ่มเสี่ยง มีกำลังพอรบ คาดคะเนข้าศึกแม่นยำ ก็ชนะได้ ผู้ไร้สติปัญญาซ้ำปรามาสข้าศึก จักตกเป็นเชลย ไพร่พลยังไม่ใกล้ชิดก็ลงโทษ จักกระด้างกระเดื่อง กระด้างกระเดื่องก็ใช้ยาก ไพร่พลใกล้ชิดไม่ยอมรับการลงโทษ ก็มิพึงใช้ ฉะนั้น จึงพึงกล่อมเกลาด้วยคุณธรรม ให้พร้อมเพรียงด้วยวินัย นี้คือเหตุซึ่งจักได้ชัยชนะ ฝึกไพร่พลฟังบัญชาเป็นวิสัย ไพ่พลจักจงรัก มิฝึกไพร่พลฟังบัญชาเป็นวิสัย ไพร่พลจักกรระด้างกระเดื่อง การฟังปัญชาเป็นวิสัย นี้คือเเม้ทัพสมานฉันท์กับไพร่พล

บทวิเคราะห์ ซุนวูได้อธิบายถึงปัญหาการจัดตั้งและการบัญชาการเดินทัพและการรบ การใช้ภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ ตลอดจนการสอดแนมวินิจฉัยข้าศึกอย่างถ่องแท้ ซุนวูเห็นว่า “การบัญชาทัพวินิจฉัยข้าศึก” เป็นปัญหาสำคัญในการบัญชาการรบ “การบัญชาทัพ” จะต้องสันทัดในการใช้ภูมิประเทศให้เป็นประโยชน์ ทำให้กองทัพของตนอยู่ในพื้นที่เป็นประโยชน์แก่การทำศึกและการตั้งทัพอยู่ได้ หลังจากที่ซุนวูได้เสนอการบัญชาทัพในพื้นที่ที่แตกต่างกัน 4 ลักษณะ คือเขตเขา เขตน้ำ ที่ลุ่มโคลนตมและที่ราบแล้ว ก็เสนอความคิดพื้นฐานในการใช้ภูมิประเทศว่า “การตั้งทัพมักชอบที่สูงชังที่ต่ำ รักที่แจ้งเกลียดที่ทึบ มีเสบียงสมบูรณ์ชัยภูมิมั่งคง” นี่เป็นการสรุปประสบการณ์ในการรบที่เป็นจริงของทั้งคนรุ่นก่อนและในยุคเดียว กับซุนวู ซึ่งมีความหมายที่แน่นอนต่อการเดินทัพและการรบอย่างยิ่ง

ซุนวูให้ความสำคัญแก่การ “วินิจฉัยข้าศึก” เป็นอันมาก เขาเรียกร้องให้สังเกตสภาพข้าศึกอย่างละเอียดถี่ถ้วน และสันทัดในการวินิจฉัยอย่างถูกต้องต่อสิ่งบอกเหตุต่างๆ เขาได้ประมวลวิธีการวินิจฉัยสภาพข้าศึกบางประการจากประสบการณ์ที่เป็นจริง ของตังเองเช่น “ข้าศึกใกล้แต่เงียบ เพราะได้ชัยภูมิ อยู่ไกลแต่ท้ารบ เพราะล่อให้ประชิด” “วาจานอบน้อมแต่เตรียมพร้อมคิกคัก เพราะมีแผนบุก วาจาแข็งกร้าวทำปะชิดติดพัน เพราะเตรียมจะถอย” เป็นต้น วิธีการเหล่านี้ แม้จะโบราณและง่ายๆ ทว่าก้มีสาระที่เป็นวิภาษวิธีซึ่งวินิจฉัยความมุ่งหมายของข้าศึกโดยผ่าน ปรากฏการณ์อยู่ในตัว

หลังจากได้อธิบาย “การบัญชาทัพวินิจฉัยข้าศึก” แล้วซุนวูได้เสนอปัญหาว่า การรบมิใช้ว่าทหารยิ่งมากยิ่งดี ปมเงื่อนอยู่ทีแม่ทัพมีความสามารถในการวินิจฉัยสภาพข้าศึกอย่างถูกต้อง และสามารถใช้กำลังทหารอย่างรวมศูนย์หรือไม่? เขากล่าวว่า “การศึกใช่ไพร่พลมากจะดี สำคัญอย่างสุ่มเสี่ยง มีกำลังพอรบ คาดคะเนข้าศึกแม่นยำ ก็ชนะได้” และได้ชี้ว่าหากแม่ทัพไร้สติปัญญา ปรามาสข้าศึกรบสุ่มเสี่ยง แม้ทหารจะมีมากเท่ามาก ก็จะต้องถูกข้าศึกตีพ่ายไปอย่างแน่นอน ความคิดของซุนวูเหล่านี้นับว่าเป็นคุณ มีค่ายิ่งนัก และมีพลังชีวิตตราบกระทั่งในทุกวันนี้

ในบทนี้ ซุนวูยังได้อธิบายปัญหาบางประการในด้านการปกครองทหารโดยสังเขป เสนอหลักการปกครองไพร่พลว่า “พึงกล่อมเกลาด้วยคุณธรรม ให้พร้อมเพรียงด้วยวินัย” “ฝึกไพร่พลฟังบัญชาเป็นวิสัยไพร่พลจักจงรัก มิฝึกไพร่พลฟังบัญชาเป็นวิสัย ไพร่พลจักกระด้างกระเดื่องการฟังบัญชาเป็นวิสัย นี้คือแม่ทัพสมานฉันท์กับไพร่พล” ตลอดจนเรียกร้องให้การรางวัลและการลงโทษจะต้องให้สอดคล้องกับกาลเทศะ เป็นต้น เหล่านี้ เป็นด้านสำคัญของความคิดการปกครองทหารของซุนวูที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *