ทหารฝึกหัดอิดโรยกันถ้วนหน้า

บทที่ 6 ความอ่อนแอ-เข้มแข็ง

ทหารฝึกหัดอิดโรยกันถ้วนหน้า
ทหารฝึกหัดอิดโรยกันถ้วนหน้า

บทที่ 6 ความอ่อนแอ-เข้มแข็ง ผู้เข้าสนามรบค่อยข้าศึกก่อนย่อมสดชื่น ผู้เข้าสนามรบสู้ศึกจุกละหุกทีหลังย่อมอิดโรย ฉะนั้น ผู้สันทัดการรบ จึงกระทำต่อผู้อื่นใช้ถูกผู้อื่นกระทำที่สามารถทำให้ข้าศึกมาเอง ก็เพราะล่อด้วยประโยชน์ ที่สามารถทำให้ข้าศึกมิกล้าเข้า ก็เพระเผยให้เห็นภัย ฉะนั้น ข้าศึกสดชื่นพึงให้อิดโรย อิ่มพึงให้หิว สงบพึงให้เคลื่อน พึงตีที่ข้าศึกมิอาจหนุนช่วย พึงรุกที่ข้าศึกมิได้คาดคิด เดินทัพพันลี้มิเหนื่อย เพราะเดินในที่ปลอดคน โจมตีก็ต้องได้เพราะข้าศึกมิอาจป้องกัน รักษาก็ต้องมั่นคง เพราะข้าศึกมิอาจเข้าตี

ฉะนั้น ผู้สันทัดการโจมตี ข้าศึกมิรู้ทีจะตั้งรับ ผู้สันทัดการตั้งรับ ข้าศึกมิรู้ที่จะโจมตี แยบยลแสนจะแยบยล จนมิเห็นแม้วี่แววพิสดารสุดพิสดาร จนไร้สิ้นซึ่งสำเนียง ฉะนั้น จึงสามารถบัญชาชะตากรรมข้าศึก รุกก็มิอาจต้านทาน เพราตีจุดอ่อนข้าศึก ถอยก็มิอาจประชิต เพราะเร็วจนสุดจะไล่ ฉะนั้น เมื่อเราจักรบ แม้ข้าศึกมีป้อมสูงคูลึก ก็จำต้องรบกับเรา เพราะโจมตีจุดที่ข้าศึกต้องช่วย เมื่อเราไม่รบ แม้ป้องกันเพียงขีดเส้นเขต ข้าศึกก็มาอาจรบด้วย เพราะได้ถูกชักนำไปอื่น

ฉะนั้น ให้ข้าศึกเผยรูปลักษณ์แต่เราไร้รูปลักษณ์ เราจึงรวมศูนย์ แต่ข้าศึกกระจาย เรารวมเป็นหนึ่ง ข้าศึกกระจายเป็นสิบ เอาสิบไปตีหนึ่งของข้าศึก เราก็มากแต่ข้าศึกน้อย เมื่อเอามากไปตีน้อย ผู้ที่เรารบด้วยก็มีจำกัด พื้นที่ซี่งเรากำหนดเป็นสนามรบ มิควรให้รู้ เมื่อมิรู้ ข้าศึกจำต้องเตรียมการมากด้าน เมื่อเตรียมการมากด้าน กำลังที่เรารบด้วย ก็น้อย ฉะนั้น เตรียมหน้า หลังก็น้อย เตรียมหลัง หน้าก็น้อย เตรียมซ้าย ขวาก็น้อย เตรียมขวา ซ้ายก็น้อย เตรียมทุกด้าน ทุกด้านก็น้อย ฝ่ายน้อย เพราะเตรียมรับข้าศึก ฝ่ายมาก เพราะให้ข้าศึกเตรียมรับตน

ฉะนั้น เมื่อรู้สนามรบ รู้วันเวลารบ ก็ออกรบได้ไกลพันลี้ หากมิรู้สนามรบ มิรู้วันเวลารบ ซ้ายก็มิอาจช่วยขวา ขวาก็มิอาจช่วยซ้าย หน้าก็มิอาจช่วยหลัง หลังก็มิอาจช่วยหน้า จักรบไกลหลายสิบลี้ หรือใกล้ไม่กี่ลี้ได้ไฉน ตามการคาดคะเนของเรา ชาวแคว้นเย่แม้ทหารจะมาก จักเกิดผลแพ้ชนะได้ไฉน

ฉะนั้น พึงวินิจฉัยเพื่อรู้แผนซึ่งจะเกิดผลได้เสีย พึงดำเนินการเพื่อรู้เหตุความเป็นไป พึงสังเกตการณ์เพื่อรู้จุดเป็นตาย พึงลองเข้าตีเพื่อรู้ส่วนขาดเกิน
ฉะนั้น การเผยรูปลักษณ์ชั้นเลิศ จึงปราศจากเค้าเงื่อน เมื่อปราศจากเค้าเงือน จารชนที่แฝงตัวก็มิอาจรู้เห็น ผู้มีสติปัญญาก็มิอาจใช้อุบาย

แม้ชัยชนะจะปรากฏต่อผู้คนเพราะรูปลักษณ์ คนทั้งหลายก็มิอาจรู้ ผู้คนล่วงรู้ว่ารูปลักษณ์ทำให้เราชนะ แต่ไม่รู้รูปลักษณ์ของเราว่าเหตุใดจึงชนะ ฉะนั้น ชัยชนะจึงไม่ซ้ำซาก แต่จักมิรู้สิ้นตามรูปลักษณ์

รูปลักษณ์การรบดุจดั่งน้ำ รูปลักษณ์ของน้ำ เลี่อนที่สูงลงที่ต่ำ รูปลักษณ์การรบ เลี่ยงที่แข็งตีที่อ่อน น้ำไหลไปตามสภาพพิ้นที่ การรบชนะตามสภาพข้าศึก ฉะนั้น การรบจึงไม่มีรูปลักษณ์ตายตัวน้ำก็ไม่มีรูปร่างแน่นอน ผู้สามารถเอาชนะขณะที่สภาพข้าศึกเปลี่ยนแปลเรียกว่าเทพ

ฉะนั้น ห้าธาตุจึงไม่มีธาตุไหนชนะตลอดกาล สี่ฤดูก็ไมอยู่คงทีเสมอไป ดวงตะวันมีสั้นมียาว ดวงเดือนก็มีขึ้นมีแรม

บทวิเคราะห์ ในบทนี้ ซุนวูได้อรรถาธิบายปัญหาการชี้นำการรบซึ่ง “เลี่ยงที่แข็งตีที่อ่อน” “ชนะตามสภาพข้าศึก” และโจมตีข้าศึกอย่างพลิกแพลงเป็นฝ่ายการะทำ เขาเห็นว่า “รูปลักษณ์การรบดุจดั่งน้ำ” การหลั่งไหลของน้ำคือ “เลี่ยงที่สูงลงที่ต่ำ” “ไหลตามสภาพพื้นที่” เมื่อบัญชาการรบก็จะต้อง “เลี่ยงที่แข็งตีที่อ่อน” “ชนะตามสภาพข้าศึก” “ผู้สามารถเอาชนะขณะที่สภาพข้าศึกเปลี่ยนแปลง เรียกว่าเทพ” ความคิดชี้นำของซุนวูนี้ ทีคุณค่าอย่างใหญ่หลวงต่อการเลือกเป้าหมายการรบ ทิศทางการรบและการชี้นำปฎิบัติการรบของกองทัพอย่างถูกต้อง ในขณะที่อธิบายคามคิดข้อนี้นั้น ซุนวูได้ใช้เนื้อที่ค่อยข้างมาก ยืนยันความเปลี่ยนแปลงได้ทางการทหารของ “ความอ่อนและความแข็ง” ชี้ว่า “การรบจึงไม่มีรูปลักษณ์ตายตัว น้ำก็ไม่มีรูปร่างแน่นอน” ความอ่อนแอและความแข็งก็เหมือนดั่ง “ห้าธาตูไม่มีธาติใดชนะตลดากาล สี่ฤดูก็ไม่อยู่คงที่เสมอไป ดวงตะวันมีสั้นยาว ดาวเดือนก็มีขึ้นมีแรม” อยู่ในภาวะเปลี่ยนแปลงเป็นจิจนิรันดร์ ขอแต่ให้สันทัดในการยึดกุมกฎเกณฑ์แห่งการเปลี่ยนแปลงของมัน ก็สามารถเปลี่ยน “ความแข็ง” ของข้าศึกให้เป็น “ความอ่อน” เปลี่ยน “ความอ่อน” ของตนให้เป็น “ความแข็ง” ทำถึงขั้นใช้ความแข็งของตนตีความอ่อนข้าศึก เพื่อช่วงชิงชัยชนะในการรบได้ ฉะนั้นซุนวูจึงกล่าวว่า “ชัยชนะ สร้างขึ้นได้ ข้าศึกแม้จะมาก ก็อาจทำให้รบมิได้”

ความคิดของซุนวูเหล่านี้ มีเค้ามูลของความคิดวัตถุนิยมวิภาษวิธีอยู่ เป็นการสะท้อนออกของความคิดก้าวหน้าของชนชั้นเจ้าที่ดินที่เกิดใหม่สมัยนั้น ซึ่งบุคคลที่เป็นตัวแทนของอิธิพลเสื่อมโทรมทั้งหมดเวลานั้นได้มองปัญหา สงครามอย่างโดดเดี่ยว หยุดนิงและด้านเดียวอันเป็นทัศนะอภิปรัชญา พวกเขามักจะมองความสัมพันธ์ระหว่างมากกันน้อย รุกกับรับสถานการณ์ทั้งหมดกับสถานการณ์เฉพาะส่วน ในกระบวนแห่งสงครามเหล่านี้ เป็นสิ่งซึ่งตายตัวไม่เปลี่ยนแปลง จนเน้น “เล็กสู้ใหญ่ไม่ได้ น้อยสู้มากไม่ได้ อ่อนสู้แข็งไม่ได้” อย่างด้านเดียว สิ่งเหล่านี้ ก็คือการสะท้อนออกของจิตนิยมและกลไกนิยม ในปัญหาสงคราของพวกเขา

ซุนวูเริ่มต้นจากความคิด “ชัยชนะสร้างขึ้นได้” ในขณะเดียวกันก็เสนอหลักการการทหารที่สำคัญเช่น “การกระทำต่อผู้อื่นใช่ถูกผู้อื่นกระทำ” และ “เรารวมศูนย์แต่ข้าศึกกระจาย” ขึ้นมาอีก เขาเห็นว่า ผู้สันทัดการชี้นำสงครามสามารถอาศัยความพยายามทางอัตวิสัยช่วงชิงให้ได้มา ซึ่งอำนาจการเป็นฝ่ายกระทำ เคลื่อนย้ายข้าศึกโดยมิใช่ถูกข้าศึกเคลื่อนย้าย ดังเช่น หลอกลวงข้าศึกด้วยวิธีการ “เผยรูปลักษณ์การรบ” ต่างๆนานา เพื่อปกปิดความมุ่งหมายแห่งปฎิบัติการของตน ซึ่งสามารถจะแยกกระจายข้าศึกแต่รวมศูนย์กำลังของตนเอง ทำจนถึงขั้น “เรารวมเป็นหนึ่ง ข้าศึกกระจายเป็นสิบ” กระทั้งทำให้ข้าศึก “เตรียมทุกด้าน ทุกด้านก็น้อย” ตกอยู่ในภาวะเป็นฝ่ายถูกกระทำ และฝ่ายตน “พึงตีข้าศึกที่มิอาจหนุนช่วย” “โจมตีที่ข้าศึกต้องช่วย” โจมตีข้าศึกอย่างผลิกแพลงเป็นฝ่ายการะทำ บงการชะตากรรมของข้าศึก
การอรรถาธิบายของซุนวูเหล่านี้ เป็นที่ยกย่อยแก่นักการทหารที่มีชื่อตลอดมา ซึ่งหลักการพื้นฐานบางประการนั้น ยังเปี่ยมล้นไปด้วยพลังชีวิตจวนจนปัจจุบัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *