ชาจีน

ชาจีน (1)

ชาจีน
ชาจีน

ชาจีน (1) ชาถ้วยแรกเกิดขึ้นในสมัยของจักรพรรดิเสินหนง ( Shen nung) กษัตรย์ผู้ครองแผ่นดินจีนเมื่อ 4000 ปีก่อน ตามบันทึกเล่าว่า พระองค์สนพระทัยอย่างมากเมือทราบว่าน้ำดื่มที่ราชบริพานนำมาถวายนั้น มีสีน้ำตาลสวยพร้อมทั้งยังส่งกลิ่นหอม เพราะมีใบไม้แห้งชนิดหนึ่งปลิวตกลงไปในหม้อต้มน้ำดื่มของพระองค์ด้วยความ บังเอิญ

แม้ว่าน้ำชนิดนั้นจะแตกต่างจากที่เคย พระองค์ก้อไม่ทรงกริ้วหรือเกรงว่าจะเป็นใบไม้พิษ แต่กลับตื่นเต้นกับสิ่งแปลกใหม่ พระองค์จึงทรงจิบน้ำในถ้วยนั้น นี้จึงเป็นต้นกำเนิดของเครื่องดื่มชนิดใหม่ที่ปรุงแต่งจากใบไม้แห้ง ซึ่งมีกลิ่นหอม รสกลมกล่อม และให้ความรู้สึกสนชื่น เรื่องราวของน้ำดื่มที่ได้จากใบไม้เรียกกันในสมัยนั้นว่า “ตู” ( TU) จึงเริ่มต้นขึ้น นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้วพระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิด ต่าง ๆ กว่า 200 ชนิด ชาวจีนจึงได้นับถือว่าพระองค์เป็นบิดาแห่งแพทย์ศาสตร์ อีกตำนานหนึ่งกล่าวถึง นักบวชชี่อธรรม ซึ่งเป็นโอรสของกษัตริย์อินเดียวได้เดินทางมาจาริกบุญเพื่อเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาในจีน ในช่วงแผ่นดินของจักรพรรดิถูตี่ ในช่วงปี ค.ศ. 519 จักรพรรดิถูตี่ทรงนิยมชมชอบนักบวชจึงได้นิมนต์ให้นักบวชไปพักอยู่ในถ้ำแห่ง หนึ่งในเมืองนานกิง ขณะที่นักบวชได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ก็เกิดเผลอหลับไปทำให้ชาวจีนหัวเราะเยาะ เพื่อเป็นการลงโทษตนเอง มิให้กระทำความผิดเช่นนั้นอีก ท่านธรรมจึงได้ตัดหนังตาของตนทิ้งเสีย หนังตาเมื่อตกถึงพื้นก็เกิดงอกขึ้นเป็นต้นชา ซึ่งเป็นนิมิตที่แปลก ชาวจีนจึงพากันเก็บชามาชงในน้ำดื่มเพื่อรักษาโรค

นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าขานกันอีกว่าในสมัยหนึ่งได้เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาด ในเมืองจีนผู้คนล้มตายกันเป็นจำนวนมาก เกี้ยอุยซินแสพบว่า สาเหตุใหญ่ของการเกิดโรคเกิดจากการที่ผู้คนพากันดื่มน้ำสกปรก จึงแนะนำให้ชาวบ้านต้มน้ำดื่ม และเพื่อให้ชาวบ้านเชื่อจึงเสาะหาใบไม้มาอังไฟให้หอมเพื่อใส่ลงไปในน้ำต้ม เกี้ยอุยซินแสดพบว่ามีพืชชนิดหนึ่งที่ให้กลิ่นหอมมากเป็นพิเศษ มีรสฝาดเล็กน้อยและแก้อาการท้องร่วงได้ จึงเผยแพร่วิธีการนี้ให้ชาวบ้านได้ทำตาม ซึ่งพืชที่มีกลิ่นหอมก็คือต้นชานั่นเอง

เรื่องชาถูกบันทึกไว้ในหนังสือจีนโบราณชื่อเอ๋อหยา ( Er Ya : On Tea) โดยขุนนางในจักรพรรดิ Zhou โดยให้คำจำกัดความของคำว่าชา คือสมุนไพรรสขมชนิดหนึ่ง จากบันทึกของมณฑลหัวหยาง (ปัจจุบันคือ มณฑลซิฉวน) ในช่วงการทำสงครามระหว่างกษัตริย์วู ( Wu) ในราชวงศ์ Zhou กับจักรพรรพิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ Shang ( ในปี 1066 ก่อนคริสตกาล) ทหารจากมณฑลซู ( Shu) ซึ่งมาร่วมรบได้นำชาและผึ้งมาเป็นเครื่องบรรณาการแก่กษัตริย์ด้วย

หลักฐานสำคัญเกี่ยวกับเรื่องชาที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้คือ “คัมภีร์ชาของหลูอยู่ ( Lu Yu)” โดยหลูอยู่เกิดในมณฑลเหอเป่อ ระหว่าง ค.ศ. 728-804 หลูอยู่มีความสนใจในเรื่องชามาก ได้เขียนตำราไว้ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 780 ชื่อว่า “ชาชิง” ( Tea classic ซึ่งเป็นตำราที่ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับชาถึง 10 บท ถือว่าเป็นตำราที่เกี่ยวกับชาเล่มแรกของโลก โดยเนื้อหาในหนังสือจะเริ่มตั้งแต่เรื่องต้นกำเนิดของการดื่มชา เครื่องมือ การผลิตชา อุปกรณ์การชงชา การชงชาที่ถูกวิธี วิธีการดื่มชา ประวัติเรื่องราวเกี่ยวกับชา แหล่งกำเนิดของชา การแบ่งคุณภาพของชา และธรรมเนียมการชงชา

สมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 618-1260) การดื่มชาเป็นที่นิยมมาก มีร้านนำชาอยู่ทุกหนทุกแห่งในแต่ละมณฑลจนถึงเมืองหลวง แต่กรรมวิธีชงชาในสมัยราชวงศ์พังจะผิดแผกแตกต่างจากการชงชาที่รู้จักกัน สมัยนั้นจะนำใบชาไปนึ่งกับข้าวแล้วเติมเกลือ ขิง เปลือกส้ม และเครื่องเทศ จากนั้นนำมาปั้นเป็นก้อนไว้สำหรับละลายน้ำดื่ม ส่วนในสมัยราชวงศ์ซ้อง การชงได้เปลี่ยนจากก้อนชานึ่งมาเป็นใบชาแห้ง โดยนำใบชามาโม่จนเป็นผง แล้วชงกับน้ำร้อน ในยุคนี้เองที่คนจีนเริ่มมีวัฒนธรรมจิบน้ำชา พระสงฆ์หันมาใช้การชงชาเพื่อสร้าง ศีล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งเมื่อชาวตาดรุกรานจีน จนราชวงศ์ซ้องถูกทำลายไป ทำให้การทำและชงชาสูญสิ้นไปด้วย

ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1208-1368) คนจีนหันมาชงชาด้วยใบซึ่งต้องชงชาในป้าน (กาน้ำชา) ห้านชาจะช่วยกรองเศษชาไม่ให้หล่นลงจอกในขณะริน

ในตำราจีนโบราญหลายเล่มมีกานเอ่ยถึงหลักฐานและข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ เกี่ยวกับต้นกำเนิดของน้ำชาว่า บ่อบครั้งที่พูดถึงตูมักสื่อถึงต้นชา จึงสันนิษฐานว่า แรกเริ่มเดิมทีนั้น ไม่มีคำศัพท์ที่หมายถึงต้นชา หรือน้ำชาโดยเฉพาะ ถึงจะไม่มีชื่อเรียกเฉพาะแต่น้ำชาก้อเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ น้ำต้มใบไม้ที่มีกลิ่นหอม สีสวย มีคุณค่าทางสมุนไพร

จากใบไม้แห้งธรรมดา กลับกลายมาเป็นสิ่งล้ำค่าที่ผูกพันอยู่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวจีน ชาววอเหยิน (ญี่ปุ่น) ชาวอินเดีย (เค้าเรียกว่านีเจินอะเป่าน๊า ^^) ชาวยุโรป และชาวไทย รวมถึงอีกหลายๆชาวในโลกอีกด้วย……. ^^

ที่มาของคำว่า “ ชา ”

ขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นมาตั้งแต่ครั้งแรกที่พบ เรื่องราวของชาด้ายรับการบอกเล่าผ่านปากต่อปากโดยไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็น ทางการ จนกระทั้งสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-906) น้ำชาด้ายรับการยกย่องให้เป็นเครื่องดื่มประจำชาติของจีน แล้วศัพท์คำว่า ชา หรือ Cha ก้อถูกบัญญัติขึ้นเพื่อเรียกใบไม้ชนิดหนึ่งเมื่อนำมาต้มน้ำดื่มแล้วให้ เครื่องดื่มที่มีกลิ่นหอม ดื่มชุ่มคอ มีสีน้ำตาล

คำสมัยใหม่ที่เรียกชาในภาษาอังกฤษคือ ที ( tea) นั้นเป็นอิทธิพลการการกร่อนเสียงของคำจีนหลายๆ คำผสมกัน เช่น ทชาย ( Tchai) ชา ( Cha) เตย์ ( Tay ) แต่ก้อยังมีคำเรียกชาของอีกหลายๆประเทศ อย่างเช่นพม่าเรียกว่า Lappet ขณะที่เวียดนามเรียกว่า Tra หรือ Che ที่เยอรมันกลับเรียกว่า Tee ภาษาฟินแลนด์เรียกชาว่า Tete หรือเพื่อนบ้านเราคอลาวเรียกว่า เมื่ยง หรือ ซา เป็นต้น

ไม่ว่าจะเป็น ชา Lappet เตย์ หรือ เมื่ยง ทุกคำล้วนใช้เรียกใบชามีสีเขียวเข้ม ใบแหลมตรงปลาย ลื่นและมันเป็นเงา ซึ่งมีชื่อเรื่องทางวิทยาศาสตร์ว่า “คาเมเลีย ซินเอ็นซิส” ( Camallia Sinensis) ใบชามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของมนุษย์มากที่สุดชนิดหนึ่งในโลก

แหล่งกำเนิดชาตามธรรมชาติ มีจุดศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนใกล้ต้นน้ำอิระวดี แล้วแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นที่ ลักษณะคล้ายรูปพัด จากด้านทิศตะวันตก ระหว่างเทือกเขานากา มานิปุริและลูไซ่ ตามแนวชายแดนของรัฐอัสสัม และสหภาพพม่า ไปยังมณฑลซีเกียงของจีนทางด้านทิศตะวันออกแล้วลงสู่ทิศใต้ตามเทือกเขาของ สหภาพพม่า ตอนเหนือของไทยไปสิ้นสุดที่เวียดนาม โดยมีอาณาเขตจากด้านทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก กว้างถึง 1 , 500 ไมล์ หรือ 2 , 400 กิโลเมตร ระหว่างเส้นลองจิจูด 95-120 องศาตะวันออก และจาก ทิศเหนือ จรดทิศใต้ ยาว 1 , 200 ไมล์ หรือ 1 , 920 กิโลเมตร ระหว่างเส้นละติจูดที่ 29-11 องศาเหนือ

ประวัติการปลูกชา

จากประเทศจีน ชาได้ถูกเผยแพร่นำไปปลูกในประเทศต่างๆ ในเอเซีย เช่น ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้กับจีน โดยเริ่มรู้จักและมีการนำชาเข้าญี่ปุ่นโดยพระชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งที่เดิน ทางมาประเทศจีนกับเรือคณะทูต เพื่อมาศึกษาคำสอนทางพุทธศาสนา และได้นำเมล็ดชากลับไปปลูกที่ Shingaken ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จได้ผลดี หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1191 การปลูกชาได้กระจายทั่วไปและพระชาวญี่ปุ่นชื่อไปไซ ( Eisai) ได้ไปเยือนจีนในปี ค.ศ. 1196 และ 1192 ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพโดยการดื่มชา ( Preserving Health in Drinking Tea) เป็นหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับชาที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น จึงทำให้เกิดประเพณีการดื่มชาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นประเพณีการชงชาของญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบันนี้

ในประเทศมาเลเซีย ชาพันธุ์จีน ถูกนำเข้าไปปลูกที่ปีนังในปี ค.ศ. 1802 ต่อมา ปี ค.ศ. 1822 ได้นำไปปลูกที่สิงคโปร์ ซึ่งสิงคโปร์ได้จัดซื้อต้นชาเพิ่มเติมจากประเทศจีนและอินเดียใน ปี ค.ศ. 1893 การปลูกชาในลักษณะเป็นสวนขนาดใหญ่เริ่มประสบผลสำเร็จที่รัฐยะโฮว์และเปรัค ปี ค.ศ. 1910 ได้มีการทดลองปลูกชาที่ Gunong Angsi และชาวจีนได้นำเมล็ดชาจากประเทศจีนมาทดลองปลูกที่รัฐเซลังงอ ต่อมากระทรวงเกษตรของมาเลเซีย ได้นำเมล็ดชาจากอินเดีย มาทดลองปลูกบริเวณที่ต่ำของรัฐเซอร์ดังและบนที่สูงคาเมอรอน ( Comeron Highlands)

ในประเทศอินเดีย ช่วงศตวรรษที่ 18-19 บริษัท West India ได้นำเมล็ดชาจีนมาทดลองปลูกตามไหล่เขาหิมาลัย ส่วนการขยายตัวของอุตสาหกรรมชาเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1818-1834 บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมามีการพบชาป่าแถบเนปาลและมานิเปอร์ เป็นเหตุให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดูแลและมีการปลูกชาขึ้นที่กัลกัตตาในปี ค.ศ. 1834 และได้มีการค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับชาที่สวนพฤกษศาสตร์แห่งกัลกัตตา โดยได้รรับความช่วยเหลือด้านเมล็ดพันธุ์จากประเทศจีน ต่อมาจีนงดส่งพันธุ์ชามาให้เนื่องจากกลับว่าอินเดียจะผลิตชามาแข่งขัน อินเดียจึงต้อง ดำเนินการพัฒนาสายพันธุ์ชาขึ้นมาเอง โดยใช้พันธุ์ชาที่ปลูกอยู่แล้วและพันธุ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่อยู่ใกล้ ชายแดนเนปาล จนถึงพรมแดนประเทศจีนแถบมณฑลยูนาน

ในประเทศอินโดนีเซีย ในปีค.ศ. 1690 ได้มีการนำชาต้นแรกมาปลูก และในปี ค.ศ. 1824 ได้นำเมล็ดพันธุ์ชาจากประเทศญี่ปุ่นมาปลูก ต่อมาในปี ค.ศ. 1827-1833 รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางไปยังประเทศจีนเพื่อเก็บรวบรวมเมล็ดชาและนำคนงาน เข้ามาทำงาน การปลูกชาได้ถูกผูกขาดโดยรัฐมาจนถึงปี ค.ศ. 1860 ต่อมาในปี ค.ศ. 1872 ได้มีการนำชาพันธุ์อัสสัมมาปลูก แต่ยังไม่ได้ผลจริงจัง จนกระทั่งปี ค.ศ. 1878 ได้มีการเปลี่ยนกระบวนการผลิตชาจากการใช้มือมาเป็นเครื่องจักร มีการปรับปรุงคุณภาพและนำเมล็ดชามาจากศรีลังกา ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 บริษัทชาของอังกฤษได้มาวางรากฐานการปลูกชาบนเกาะสุมาตรา แต่พอถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อุตาสหกรรมชาถูกละเลย ทำให้ผู้ผลิตชาประสบปัญหา จนกระทั่งในช่วงปี ค.ศ. 1941-1973 พื้นที่ปลูกชาถูกรื้อถอนตัดทิ้งไปปลูกพืชอื่น ๆ เป็นจำนวนมากถึง 70%

ในประเทศศรีลังกา ปี ค.ศ. 1824 ได้นำเมล็ดชาจากประเทศจีนเข้ามาปลูก และนำมาจากอัสสัมในปี ค.ศ. 1839 แต่ไม่ได้มีการปลูกอย่างจริงจัง จนในปี ค.ศ. 1867 ได้เริ่มมีการปลูกชาที่ใช้เมล็ดพันธุ์จากจีน โดยพี่น้อง Soloman และ Gabrid ที่เมือง rambodo ต่อมาในปี ค.ศ. 1880 เกิดการระบาดของโรคราสนิม ทำให้กาแฟได้รับความเสียหายมาก จึงมีการปลูกชาทดแทนกาแฟ 5 ปีต่อมาจึงมีพื้นที่ปลูกชามากกว่า 150,000 เอเคอร์ และมีการบุกเบิกพื้นที่ใหม่ ๆ จึงทำให้ปัจจุบันนี้ประเทศศรีลังกามีพื้นที่ปลูกชาประมาณ 220,000 เอเคอร์

ในทวีปยุโรป อังกฤษเป็นประเทศแรกที่รู้จักนำใบชามาใช้ประโยชน์ โดยมีการนำใบชามาจากประเทศจีนในปีค.ศ. 1657 และในช่วงปี ค.ศ. 1657-1833 บริษัทอินเดียวตะวันออกของอังกฤษได้เป็นผู้ผูกขาดการนำเข้าชา และชาวอังกฤษก็ยอมรับการบริโภคชาได้เร็วกว่าชาติอื่นๆ โดยมีเซอร์โทมัส การ์ราเวย์ เป็นผู้บุกเบิกวงการอุตสาหกรรมชาของอังกฤษ ต่อมานายทอมมี่ ลิปตัน และนายดาเนียล ทวินนิ่ง ได้จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตชา ยี่ห้อลิปตันหรือทวินนิ่งที่มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบันนี้

ในประเทศฝรั่งเศส ชาถูกยอมรับเป็นเครื่องดื่มในศตวรรษที่ 17 สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงเสวยชาเพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และแรงเสริมอีกอย่างคืออุตสาหกรรมชาในอังกฤษเข้ามาตีตลาดในฝรั่งเศส

ในประเทศรัสเซีย เริ่มปลูกชาครั้งแรกที่ Sukhum Botonic Gardens บนฝั่งทะเลดำ ในปี ค.ศ. 1847 โดยอุปราชของเมืองคอเคซัส เมื่อต้นชาเริ่มให้ผลผลิต ทำให้ความนิยมปลูกชาเพิ่มมากขึ้น ปี ค.ศ. 1884 มีการนำต้นกล้าชาจากประเทศจีนมาปลูกในเนื้อที่ประมาณ 5.5 เอเคอร์ หลังจากนั้นได้มีกลุ่มผู้สนับสนุนการปลูกชาขึ้น โดยจัดซื้อสวนบนฝั่งทะเลดำ จำนวน 3 สวน เพื่อปลูกชาจำนวน 385 เอเคอร์ ใช้เมล็ดพันธุ์จากประเทศจีน อินเดีย และศรีลังกา รวมทั้งจ้างคนชำนาญเรื่องขากับคนงานจากประเทศจีนมาฝึกสอนโดยจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ในการทำชามาจากประเทศอังกฤษ ต่อมาในปี ค.ศ. 1900 กระทรวงเกษตรของรัฐเริ่มได้จัดตั้งสถานีทดลองและผลิตต้นพันธุ์แจกจ่าง โดยไม่คิดมูลค่า จากการส่งเสริมนี้ทำให้การปลูกชาขยายตัวมากขึ้น จนในปัจจุบันประเทศรัสเซีย จัดได้ว่ามีการปลูกชากันมาก ในรัฐจอร์เจีย ( Georgia ชายฝั่งทะเลดำ

ในทวีปแอฟริกา การปลูกชาเริ่มต้นที่ Durban Botanic Gradens ในปี ค.ศ. 1850 โดยปลูกทดแทนกาแฟที่ประสบความล้มเหลวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกาใต้ สำหรับอุตสาหกรรมชาที่เก่าแก่ที่สุดของแอฟริกาเริ่มที่มาลาวีโดยมีการนำ เมล็ดชามาทดลองปลูกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1878 แต่ชาตายหมด ต่อมาในปี ค.ศ. 1886-1888 นักบวชชาวอังกฤษ เป็นผู้นำเมล็ดชาจาก Kew และ Edinburgh Botanic Gradens มาปลูกได้สำเร็จ จากนั้นได้มีการนำต้นพันธุ์ไปปลูกที่เคนยา อูกันดา และแทนซาเนีย และในช่วงปี ค.ศ. 1920-1930 การพัฒนาอุตสาหกรรมชาจึงได้เริ่มต้นขึ้น โดยระหว่างปี ค.ศ. 1921-1925 บริษัทเอกชน 3 แห่ง ได้เริ่มปลูกชาขึ้นที่ Rift Valley ในเคนยา ปี ค.ศ. 1924 อุตสาหกรรมชาของแทนซาเนียได้เริ่มขึ้นที่ Tukuyu บริเวณเขตที่สูงทางตอนใต้ของประเทศ จานั้นได้ขยายมายังเทือกเขา Usambara ในปี ค.ศ. 1931 ส่วนในยูกันดานั้น การปลูกชาเริ่มค่อนข้างล่าช้า โดยมีการเริ่มปลูกชาในปี ค.ศ. 1930

ในทวีปออสเตรเลีย มีการนำเมล็ดพันธุ์ชาจาก Kew Botanic Gardens ประเทศอังกฤษเข้ามาทดลองปลูกที่รัฐควีนส์แลนด์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 สถานีวิจัย South Johnstone ได้นำเมล็ดพันธุ์จากไร่ทดลองบานานามาเพาะ และในปี ค.ศ. 1942 จึงได้ทำการทดลองปลูกชาขึ้นในสถานีทดลองพื้นที่ครึ่งเอเคอร์ ในปี ค.ศ. 1950 และ 1960 ได้เกิดบริษัทชาขึ้น 3 บริษัท ตั้งอยู่ที่ Nerada และ Tully และได้มีการคิดวิธีเก็บชาโดยใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน

ประวัติการปลูกชาในประเทศไทย

ในสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปี พ.ศ. 2530 ได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล

สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมจะอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศ โดยจะกระจายอยู่ในหลายจังหวัดแถบภาคเหนือ ที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปางและตาก จากการสำรวจของคณะทำงานโครงการหลวงวิจัยชาได้พบแหล่งชาป่าที่บ้างไม้ฮุง กิ่งอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเวณเขตติดต่อชายแดนประเทศพม่า ต้นชาป่าที่พบเป็นชาอัสสัม ( Assam tea) อายุหลายร้อยปี เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 0.5 เมตร ชาวบ้านละแวกนั้นเรียกต้นชาพันปี เข้าใจว่าต้นชาป่าขนาดใหญ่ สามารถพบได้อีกตามบริเวณเทือกเขาสูงของจังหวัดแพร่และน่าน โดยสวนชาส่วนใหญ่ทางภาคเหนือจะเป็นส่วนเก่าที่ได้จากการถางต้นไม้ชนิดอื่น ออกเหลือไว้แต่ต้นชาป่าที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ต้นเมี่ยง จำนวนต้นต่อไร่ต่ำ ประมาณ 50-200 ต้น/ไร่ ผลผลิตใบชาสดต่ำเพียง 100-140 กิโลกรัม/ไร่ ชาวบ้านจะเก็บใบชาป่าด้วยมือโดยการรูดใบทิ้งกิ่ง แล้วนำใบมาผลิตเป็นเมี่ยง ในปัจจุบันช่วงใดที่เมี่ยงมีราคาสูง ใบชาป่าจะถูกนำมาผลิตเป็นเมี่ยง แต่เมื่อเมี่ยงมีราคาถูก ใบชาป่าจะถูกนำไปจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตชาจีนขนาดเล็ก ทำให้ชาจีนที่ผลิตได้มีคุณภาพต่ำ

การพัฒนาอุตสาหกรรมชาของประเทศไทย เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2480 โดย นายประสิทธิ์ และนายประธาน พุ่มชูศรี สองพี่น้องได้ตั้งบริษัทใบชาตราภูเขาจำกัด และสร้างโรงงานชาขนาดเล็กขึ้นที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้านที่ทำเมี่ยงอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่าพบปัญหาอุปสรรคหลายประการ เช่น ใบชาสดมีคุณภาพต่ำปริมาณไม่เพียงพอ ชาวบ้านขาดความรู้ความชำนาญในการเก็บเกี่ยวยอดชาและการตัดแต่งต้นชา ส่วนที่อำเภอฝางนั้น นายพร เกี่ยวการค้า ได้นำผู้เชี่ยวชาญทางด้านชา ชาวฮกเกี้ยนมาจากประเทศจีน เพื่อมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ต่อมาในปีพ.ศ. 2482 สองพี่น้องตระกูลพุ่มชูศรี ได้แก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเริ่มปลูกสวนชาเป็นของตนเอง ใช้เมล็ดพันธุ์ชาพื้นเมืองมาเพาะ สวนขาตั้งอยู่ที่แก่งพันท้าว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในเนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ และต่อมาได้ขยายพื้นที่ปลูกมาที่บ้านเหมืองกึด และบ้านช้าง ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งเสริมการผลิตมากขึ้น โดยขอสัมปทานทำสวนชาจากกรมป่าไม้จำนวน 2,000 ไร่ ที่บ้านบางห้วยตาก ตำบลอินทขิน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในนามของ บริษัทชาระมิงค์ และทำสวนชาที่ตำบลสันมหาพน อำเภทแม่แตง ในนามของ บริษัทชาบุญประธาน ชาที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะเป็นชาฝรั่ง ต่อมาเอกชนเริ่มให้ความสนใจอุตสหากรรมการผลิตชามากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2530 บริษัทชาระมิงค์ได้ขายสัมปทานสวนชาให้แก่บริษัทชาสยาม จากนั้นชาสยามได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกไร่ในบริเวณใกล้เคียงปลูก สวนชาแบบใหม่ และรับซื้อใบชาสดจากเกษตรกรนำมาผลิตชาฝรั่งในนามชาลิปตัน จนกระทั่งปัจจุบันนี้

สำหรับภาครัฐนั้น การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2483 โดยปลัดกระทรวงเกษตร (ม.ล.เพช สนิทวงศ์) อธิบดีกรมเกษตร (คุณพระช่วงเกษตรศิลปการ) และหัวหน้ากองพืชสวน (ม.จ.ลักษณากร เกษมสันต์) ได้เดินทางไปสำรวจหาแหล่งที่จะทำการปลูกและปรับปรุงชาที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในที่สุดได้เลือกบริเวณโป่งน้ำร้อน เป็นที่ทดลองปลูกชา โดยตั้งเป็นสถานีทดลองพืชสวนฝางมีนายพ่วง สุวรรณธาดา เป็นหัวหน้าสถานีระยะแรกเมล็ดพันธุ์ชาที่นำมาปลูก ได้ทำการเก็บมาจากท้องที่ตำบลม่อนบินและดอยขุนสวยที่มีต้นชาป่าขึ้นอยู่ ต่อมามีการนำชาพันธุ์ดีจากประเทศอินเดีย ไต้หวัน และญี่ปุ่นมาทดลองปลูก เพื่อทำการค้นคว้าและวิจัยต่อไป ในส่วนของกรมวิชาการเกษตรนั้นได้ขยายการศึกษาทดลองเกี่ยวกับชาออกไปยังสถานี เกษตรที่สูงหลายแห่ง เช่น สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี จังหวัดเชียงราย และสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่

ในปี พ.ศ. 2518 ฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ได้เริ่มโครงการปลูกชาในพื้นที่หมู่บ้านอพยพ 6 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองอุ แกน้อย แม่แอบ ถ้ำงอบ ถ้ำเปรียงหลวง และแม่สลอง โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน จัดส่งเมล็ดพันธุ์ชาลูกผสมมาให้ทดลองปลูกพร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอด เทคนิคการปลูกและการผลิตให้ด้วย ต่อมาอีก 3 ปี มีการสร้างแปลงสาธิตการปลูกชาขึ้นที่บ้านแม่สลอง หนองอุและแกน้อย ในปี พ.ศ. 2525 จึงได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ใบชาแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ทำให้สมาชิกที่ปลูกใบชาได้รับความช่วยเหลือในด้านการเงินและการแนะนำด้าน ต่างๆ

ในปี พ.ศ. 2525 กองบริการอุตสาหกรรมภาคเหนือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย ได้จัดทุนดูงานด้านอุตสาหกรรมชาแก่ผู้ประกอบกิจการชาจำนวน 12 คน ณ ประเทศไต้หวัน และศรีลังกา เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526 ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญด้านชาจีนจากประเทศไต้หวัน 2 คน คือนายซูหยิงเลียน และนายจางเหลียนฟู มาให้คำแนะนำด้านการทำสวนชาและเทคนิคการผลิตชาจีน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2527 ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเอเชียได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญสวนชาฝรั่งจากประเทศศรี ลังกา คือ นายเจซี รามานาเคน มาให้คำแนะนำและสาธิตเทคนิคการผลิตชาเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2530 กรมวิชาการเกษตรได้ขอผู้เชี่ยวชาญจาก F.A.O. มาสำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตอุตสาหกรรมชา ซึ่งทาง F.A.O. ได้ส่ง Dr. A.K.Aich ผู้เชี่ยวชาญชาฝรั่งจากประเทศอินเดีย เข้ามาศึกษาเป็นเวลา 1 เดือน และมีการส่งนักวิชาการของกรมวิชาการเกษตรไปดูงานด้านการปลูกและการผลิตชา ฝรั่งที่ประเทศอินเดีย

การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลูกและการผลิตชา นอกจากกรมวิชาการเกษตรที่รับผิดชอบโดยตรงแล้ว ในส่วนของทบวงมหาวิทยาลัยนั้น ในปีพ.ศ. 2520 งานเกษตรที่สูง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ศาสตราจารย์ปวิน ปุณศรี ได้ขอผู้เชี่ยวชาญจากสถานีทดลองชาไต้หวัน คือ Dr.Juan I-Ming เข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมชาของไทยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในขณะเดียวกัน ทางคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ผศ.ดร.วิเชียร ภู่สว่าง ก็ได้เริ่มงานศึกษาวิจัย ทางด้านสรีรวิทยาของชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 สาขาไม้ผล สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้โดยการสนับสนุนงบประมาณวิจัยจากโครงการหลวง ได้เริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาชาขึ้น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ชาจีน ศึกษาวิธีขยายพันธุ์ ผลิตต้นกล้าชาพันธุ์ดี และปรับปรุงขบวนการผลิตใบชาให้กับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่างๆ ซึ่งอีก 3 ปีต่อมา ม.จ.ภีศเดช รัรชนี ผู้อำนวยการโครงการหลวงได้ทรงอนุมัติให้จัดตั้งสถานีวิจัยชาขึ้นที่บ้านห้วย น้ำขุ่น อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันทางสถานีได้ทำการผลิตต้นกล้าชาจีนพันธ์ห้วยน้ำขุ่น เบอร์ 3 ( HK.NO. 3) ที่คัดเลือกจากแม่พันธุ์ชาจีนลูกผสมของไต้หวันเพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรใน โครงการและหน่วยงานที่สนใจ

ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรได้ทำการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยจัดทำแปลงขยายพันธุ์ชาพันธุ์ดีที่ศูนย์ส่งเสริมผลิตพันธุ์พืชสวนเชียงราย จัดทำแปลงส่งเสริมการปลูกชาพันธุ์ดีเป็นสวนแก่เกษตรกร และส่งเสริมการปรับปรุงสวนชาเก่า โดยส่งเสริมให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ดูแลรักษาและปลูกต้นชาเสริมในแปลงสวนชาเก่า พร้อมทั้งฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกและการผลิตชาแก่เกษตรกรผู้สนใจ พร้อมทั้งจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกชา และประสานงานด้านการตลาดระหว่างเกษตรกรและพ่อค้าผู้รับซื้อใบชาด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *