อ้วนเสี้ยวแตกทัพ

กลยุทธ์ที่ 4 รอซ้ำยามเปลี้ย

อ้วนเสี้ยวแตกทัพ
อ้วนเสี้ยวแตกทัพ

กลยุทธ์ที่ 4 รอซ้ำยามเปลี้ย กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสงค์จักทำให้ข้าศึกตกอยู่ในภาวะลำบาก ไม่แน่ว่าจะต้องใช้วิธีรบแต่ฝ่ายเดียว อาจจะใช้วิธี “แกร่งเสียอ่อนได้” ตามที่กล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง สูญเสีย เมื่อให้ได้รับชัยชนะก็ได้” ความหมายของ “แกร่งเสีย” ก็คือ เมื่อการรุกของข้าศึกดุเดือดยิ่งนัก ดูภายนอกแล้วเสมือนหนึ่งเข้มแข็งใหญ่โตเหลือประมาณแต่ไม่อาจรบต่อเนื่องได้ ยาวนาน อ่อนเปลี้ยเพลียแรงได้ง่าย “อ่อนได้” ก็คือ ฝ่ายรับที่ทำการป้องกัน ถูกตีกระหน่ำดูแล้วเหมือนหนึ่งอ่อนปวกเปียก แต่สามารถจะใช้ความสงบรอความเปลี้ย บั่นทอนกำลังข้าศึกไม่ขาดระยะ ทำให้ตนแปรเปลี่ยนจากฝ่ายเสียเปรียบเป็นฝ่ายได้เปรียบ นี้คือกลอุบายในการยึดกุมเป็นฝ่ายริเริ่มในสงคราม รอโอกาสทำลายข้าศึกแปรการรับให้เป็นการรุกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีปรากฏอยู่ในตำราพิชัยสงครามหลายเล่ม เช่น “ซุนจือ ว่าด้วยการศึก” “ยุทธวิธีร้อยแปด ว่าด้วยสงคราม” “ว่าด้วยการระดมพลเหนือใต้” “บันทึกจ่อจ้วน” “บันทึกประวัติศาสตร์” “จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่น” ซึ่งใน “ว่าด้วยการระดมพลเหนือใต้” กล่าวไว้ว่า“ทราบจากตำราพิชัยสงครามว่าผู้รับมักสบาย แต่ผู้รุกมักเหนื่อยยาก รอซ้ำยามเปลี้ย” ใน “จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นหลัง ประวัติฝงอี้” กล่าวว่า “ผู้บุกกำลังไม่พอ แต่ผู้รับมีกำลังเหลือเฟือ บัดนี้รักษาเมืองไว้ก่อน ใช้ความสงบรอความเปลี้ย มิจำต้องไปรบด้วยเลย”
กลยุทธ์นี้มาจาก “ตำราพิชัยสงครามซุนจื่อ ว่าด้วยการทำศึก” ความเดิมมีว่า “ใช้ใกล้รอไกล ใช้สบายรอเหนื่อย ใช้อิ่มรอหิว นี้คือการสยบผู้แกร่งกว่านั้นแล”

กลยุทธ์นี้สรุปว่า “เมื่อศัตรูมีทีท่าแจ่มชัด แต่กำลังของฝ่ายเรายังมิกล้าแข็ง ควรจะหาทางอาศัยกำลังของพันธมิตรไปโจมตีศัตรู หลีกเลี่ยงการสูญเสียของฝ่ายเรา ด้วยวิธีทั้งปวง”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *