กลยุทธ์ที่ 2 ล้อมเว่ยช่วยจ้าว กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกรวมศูนย์กำลังพลไว้ ควรจะใช้กลอุบายดึงแยกข้าศึกออกไป ทำให้กำลังพลกระจัดกระจาย ห่วงหน้าพะวงหลัง ครั้นแล้วจึงเข้าโจมตี นี้ก็คือ “ศัตรูรวมมิสู้ศัตรูแยก” และตำราพิชัยสงครามในสมัยโบราณ ขนานนามยุทธศาสตร์การส่งทหารเข้าบุกข้าศึกก่อนเป็น “ศัตรูแจ้ง” ส่วนยุทธศาสตร์กำราบข้าศึกทีหลังเป็น “ศัตรูมืด” ภายในสภาพการณ์ที่แน่นอน การบุกข้าศึกทีหลังได้เปรียบกว่าการส่งทหารเข้าบุกก่อน กลยุทธ์นี้หมายถึงการใช้ศิลปะการต่อสู้ทางการทหารที่เรียกว่า “ถ้ามาหลายก็ให้แยก” “ถ้าบุกก็ให้ถอย” “การส่งทหารเข้าบุกก่อนมิสู้ตีโต้ตอบทีหลัง” นี้เป็นกลยุทธ์ที่ “เลี่ยงแน่นตีกลวง เลี่ยงแข็งตีอ่อน เลื่ยงที่สงบตีที่ปั่นป่วน เลี่ยงที่ฮึกเหิมตีที่ย่อท้อ” เพื่อขับข้าศึกและเข้าบดขยี้ข้าศึกในภายหลังอย่างหนึ่ง ในตำราพิสังสงครามซุนวู บทว่าด้วย “จริงลวง” ได้เขียนไว้ว่า “เรารวมเป็นหนึ่ง ข้าศึกแยกเป็นสิบ เราก็มากข้าศึกก็น้อย”
กลยุทธ์นี้จึงสรุปว่า “อย่าปะทะกับข้าศึกซึ่งหน้า ควรใช้ยุทธวิธีวกวนที่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายตน แบ่งแยกกำลังของข้าศึกให้กระจายเป็นหลายส่วน แล้วจึงพิชิตเสีย”