อ้วนเสี้ยวพ่ายแพ้ตรอมใจตาย

กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ

อ้วนเสี้ยวพ่ายแพ้ตรอมใจตาย
อ้วนเสี้ยวพ่ายแพ้ตรอมใจตาย

กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อเปรียบเทียบกำลังกันแล้ว มิเหนือกว่าข้าศึก พิงหาทางบันทอนความฮึกเหิมลงเสีย “ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ” ตามคำอธิบายของ “คัมภีร์ 64 ทิศ ปฏิบัติ” “น้ำ” หมายถึงความแกร่ง “ฟ้า” หมายถึงความอ่อน รวมแล้วหมายความว่า เอาอ่อนชนะแข็ง ซึ่งก็คือพึงใช้วิธีอ่อนพิชิตแข็ง ฉกฉวยโอกาสทำลายกำลังส่วนหนึ่งของข้าศึกไปเสีย ให้พ่ายไปสิ้นในภายหลัง ที่ว่า “ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ” เปรียบเทียบเป็นการแก้ปัญหาให้สิ้นไปโดยพื้นฐาน กลยุทธ์นี้เป็นอุบายในการบั่นทอนพลังของข้าศึกที่ละส่วน จนทำลายข้าศึกเป็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดได้อย่างหนึ่ง คำนี้ เดิมมาจากหนังสือเรื่อง “ไหวหนานจื่อ” ความว่า “เทน้ำร้อนลงในน้ำเดือด มิอาจหยุดเดือด จักต้องรู้ลักษณะของมัน ทอนไฟจึงหยุด” ใน “ฎีกาประท้วงราชวงศ์เหลียง” สมัยเว่อเหนือก็ว่า “ถอนฟืนจึงหยุดเดือด ตัดหญ้าพึงถอนราก”

กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ในสถานการณ์ศึกซึ่งติดพันชุลมุนเป็นอย่างยิ่งนั้น การรบด้วยภาวะจิตจักเป็นยุทธวิธีที่ดีที่สุด และเป็นโอกาสที่จะรบให้ชนะ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อใคร่ประสงค์จะทำลายกำลังของข้าศึก ก็จักต้องทำลายกำลังหลัก ทำลายหัวใจของข้าศึกเป็นเบื้องแรก ในเวลาเช่นนี้ จิตใจของแม่ทัพนายกอง ก็คือ “ฟืน” เมื่อถอน “ฟื้น” ออกแล้ว น้ำใน “กระทะ”ก็จัก “เดือด” ต่อไปมิได้ฉันนั้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *