ขงเบ้งเผาทัพสุมาอี้

กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสียงบุรพาฝ่าตีประจิม

ขงเบ้งเผาทัพสุมาอี้

กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสียงบุรพาฝ่าตีประจิม กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ตามคำอธิบายของ “คัมภีร์อี้จิง ปั่นป่วน” คำว่า “ดุจจมในปลัก” ก็คือตกอยู่ในภาวะที่รวมตัวอยู่ในที่เดียวกัน แต่ขยับตัวหรือกระจายแนวออกต่อตีมิได้ มีอันตรายที่จะพังพินาศได้ทุกเวลา ประดุจฝูงสัตว์ที่ขาดหัวหน้า มิมีการบัญชาที่ถูกต้อง ก็จักต้องพ่ายแพ้ไม่ช้าก็เร็ว หรืออีกในหนึ่ง ในระหว่างสงครามาหรือการสัประยุทธ์ใดๆ ก็ดี เมื่อการบัญชาการของข้าศึกสับสนอลหม่าน มิอาจวินิจฉัยหรือป้องกันได้อย่างถูกต้องทันท่วงที จนเกิดเหตุอันไม่คาดฝันขึ้น พึงฉวยโอกาสที่ข้าศึกวุ่นวายไร้การควบคุม ทำลายเสีย ที่ว่า “ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม” ยังหมายถึงกลอุบายที่เห็นอยู่ทางตะวันออกหยกๆ แต่กลับวกไปอยู่ทางตะวันตก ส่งเสียงทางนี้แต่ตีทางโน้น ทำทีถอยแต่กลับรุก ทำทีรุกแต่กลับถอย ลวงล่อข้าศึกอย่างแนบเนียน ทำให้ข้าศึกเกิดความเข้าใจผิด แล้วฉวยโอกาสเข้าพิชิตเอาชัยแก่ข้าศึกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีอยู่ในตำราพิชัยสงครามหลายเล่มด้วยกัน เช่น “ซุนจือ ว่าด้วยภูมิประเทศ” “ยุทธ์วิธีร้อยแปด ว่าด้วยสงครามเสียง” “ไหวหนานจื่อ การฝึกยุทธวิธี” เป็นต้น ในเล่มหลังนี้กล่าวว่า “ดังนั้นมรรควิธีแห่งการใช้ทหาร แสดงให้เห็นว่าอ่อนแต่ปะทะด้วยแข็ง แสดงให้เห็นว่าเปราะแต่ปะทะด้วยแกร่ง เมื่อจะรวบ พึงกระจาย เมื่อจักไปประจิม ควรทำทีไปบูรพา” หรือ “คัมภีร์ทั่วไป ว่าด้วยการศึกหลายเลขหก” ของตู้อิ้วก็กล่าวไว้ว่า “ส่งเสียงว่าตีทางบูรพา แต่ที่แท้ตีทางประจิม”

กลยุทธ์นี้สรุปว่า “ที่ว่าส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม ก็คือโดยภายนอก โดยผิวเผิน ทำให้ดูเสมือนหนึ่งว่าจะบุกทางนี้อย่างจริงจัง แต่ที่แท้แล้วกลับบุกอีกด้านหนึ่ง ทำให้ข้าศึกหลงผิด แล้วพิชิตเอาชัยบนความหลงผิดนั้น”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *